มวยไชยา

.

มวยไชยา




มวยไชยา เป็นศิลปะการต่อสู้ของไทยที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องบ้าน เมืองมาตั้งแต่โบราณกาล มวยไชยามีที่มาจาก พ่อท่านมา แห่งวัดทุ่งจับช้าง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎ์ธานี ซึ่งแต่เดิมก่อนพ่อท่านมาจะเข้าอุปสมบทนั้น ท่านเป็นทหารอยู่ในกรุงเทพฯ ดังนั้นมวยไชยาที่แท้จริงแล้วน่าจะเป็นมวยที่มีที่มาอันยาวไกลยากที่จะสืบ สาวได้

          เหตุที่มวยของ พ่อท่านมา มีชื่อเรียกติดปากว่า “มวยไชยา” นั้นสืบเนื่องจากที่ท่านได้เบื่อชีวิตการเป็นทหารและเบื่อต่อฆราวาสสมบัติ ท่านจึงได้ออกบวชแล้วได้เดินธุดงค์เรื่อยไป จนได้ไปอยู่ที่วัดทุ่งจับช้าง ซึ่งในขณะนั้นเองท่านได้เมตตาถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ของไทยให้กับประชาชนที่ นั่น หนึ่งในลูกศิษย์ของท่าน ก็คือ ท่านพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไชยา ณ กาลนั้นเอง มวยไทยสายพ่อท่านมาจึงถูกเรียกขานจนติดปากว่า “มวยไชยา”

พ่อท่านมา (หลวงพ่อมา เจ้าอาวาสวัดทุ่งจับช้าง เมืองไชยา)
พระยาวจีสัตยารักษ์ (เจ้าเมืองไชยา)

อาจารย์ กิมเส็ง (สุนทร ทวีสิทธิ์)

ปรมาจารย์ เขตร ศรียาภัย
ครูทอง เชื้อไชยา (ทองหล่อ ยาและ)
 อาจารย์อมรกฤต ประมวญ หรือ ครูแปรง

 ท่านพระยาวจีสัตยารักษ์ 

       ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไชยา ท่านก็ได้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ลูกๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ นายเขตร ศรียาภัย และหลังจากที่นายเขตร ศรียาภัย ได้ร่ำเรียนจากบิดาคือท่านเจ้าเมืองแล้ว นายเขตร ศรียาภัย ยังได้ร่ำเรียนจากครูมวยอื่นๆอีกรวมแล้วถึง 12 ครู ซึ่งในกาลต่อมาท่านได้ถูกขนานนามว่า “ปรมาจารย์” ซึ่งมวยไชยาตำรับของพ่อท่านมาที่สืบทอดมายังท่านปรมาจารย์เขตร ศรียาภัยนั้น ได้ถูกเกลา ถูกวิคราะห์ ต่อเติมให้เข้ากับยุคสมัยและสามารถใช้ได้ในเหตุการณ์จริง


คชสารควานงวง เป็นกลแก้เตะ โดยการรอจังหวะที่ปรปักษ์เตะเข้าหมายก้านคอหรือชายโครงซ้าย แล้วพุ่งเข้าพิงแข้งในพร้อมคว้าข้อเท้ากระชากให้ล้ม


มวยไชยา 

       ตั้งแต่ครั้งอดีตจะสอนตั้งแต่การป้องกันตัว และจะเป็นการป้องกันตัวแบบ 4 ป.คือ

                                                             ป้อง ปัด ปิด เปิด

   เป็นท่าสำคัญ ท่า 4 ป.ของไชยานั้นจะป้องกันตัวได้ตั้งแต่หัวแม่เท้ายันเส้นผม เมื่อผู้ได้ฝึก 4 ป.จนมีความชำนาญแล้ว จะสามารถเข้าใจและจะรู้ตัวเองว่า ได้ยืนอยู่หน้าประตูของการใช้ลูกไม้ต่างๆ แล้ว
 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า มวยไชยาเป็นมวยที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันตัว ดังนั้นมวยไชยาจึงเป็นหนึ่งในสายมวยที่ถูกเลือกให้เป็น กรมทนายเลือก คอยดูแลอารักขาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณ และยังเป็นหนึ่งในสายมวยที่ได้รับฉายา “หมื่นมวยมีชื่อ” เมื่อครั้งที่ นายปล่อง จำนงทอง ใช้ ท่าเสือลากหาง  อันเป็นท่าลูกไม้สำคัญเข้าทุ่มทับนักมวยจากโคราช ลงไปสลบหน้าพระที่นั่งพระพุทธเจ้าหลวง

"ท่าเสือลากหาง" ท่านี้เป็นการเข้าสะกดข่มขวัญ ปรปักษ์ ด้วยอาการอย่างเสือหมอบค่อย ๆ เข้าหาเหยื่อ อย่างระมัดระวัง พร้อมยกมือขึ้นป้องหน้าแสดงอาการสำรวจคู่ต่อสู้ตลอดทั้งตัว

         ดังนั้นสมบัติของชาติชิ้นนี้จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ ส่งเสริม สานต่อให้เป็นรูปธรรม เนื่องจากเป็นวิชาหลวง เป็นของเจ้านายชั้นสูง ไม่ใช่วิชาการต่อสู้ที่ชกกันเพื่อการเลี้ยงชีพเพียงอย่างเดียว ยังหมายถึงปกป้องแผ่นดินเกิด ตลอดจนการอารักขาเบื้องพระยุคลบาทอีกด้วย

         วิชามวยไทยนั้น เป็นศิลปะการต่อสู้ชั้นสูงของไทย ซึ่งมิได้มีไว้เพื่อแสดงความสวยงามทางศิลปวัฒนธรรม หรือเป็นการต่อสู้กันบนเวทีเท่านั้น แต่เป็นศิลปะการต่อสู้ ที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน จะเห็นได้จากประวัติศาสตร์นักรบคนสำคัญของไทย ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องร่ำเรียนวิชามวยไทย ก่อนที่จะมาถือดาบสู้รบกับศตรูที่มารุกรานประเทศ เพราะฉะนั้นวิชามวยไทยจึงหมายถึงความปลอดภัยในชีวิต คือผู้ที่นำไปใช้จะต้องได้รับความปลอดภัย สิ่งที่เป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างดีคือเอกราชของประเทศไทยที่เราได้อาศัย อยู่ตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษมาตราบเท่าทุกวันนี้ ฉะนั้นการสืบทอดและการถ่ายทอดวิชาจึงเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง หากมีข้อบกพร่องแม้แต่เพียงน้อยนิด ย่อมหมายถึงอันตรายต่อชีวิตของผู้ที่นำไปใช้ แต่การที่จะได้มีวิชาดีไว้ปกป้องตนเองไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องแลกมาด้วยความอดทน


ศาสตร์เเห่งมวยไชยา
        มวยไทยไชยา เป็นมวยที่มีลีลางดงามแต่แฝงไปด้วยอวัยวุธที่เฉียบคมรวดเร็ว แตกต่างจากมวยไทยในปัจจุบันนี้อย่างมากมาย นอกจากลีลาที่งดงามแล้ว มวยไทยไชยายังประกอบด้วยวิชาการต่อสู้ที่สามารถกระทำได้แม้ว่าในขณะพลาดล้ม ลง (การต่อสู้บนพื้น) จากการต่อสู้ ซึ่งในวิชาพาหุยุทธ์มวยไทยไชยานี้ไม่ได้มีแค่อวัยวุธ หมัด เท้า เข่า ศอกเท่านั้น แต่ยังจะมีวิชาที่ผสมผสานกับอวัยวุธอย่างกลมกลืนจากการ
                       จับ ล็อค หัก ด้วยวิชา ทุ่มทับจับหัก ล้มลุกคลุกคลาน  ประกบประกับจับรั้ง


 และอื่นๆอีกมากมายที่เราท่านทั้งหลายไม่ค่อยพบเห็นกันในปัจจุบันนี้






   ครูแปรงครูมวยไชยาในยุคปัจจุบัน

 อาจารย์อมรกฤต ประมวญ หรือ ครูแปรง ของเหล่าศิษย์มวยไทยทั้ง หลายคือผู้สืบทอดวิชา สานต่อเจตนารมย์จากบูรพาจารย์ที่สืบสายวิชามวยที่ถูกลืมไปตั้งแต่มีกาที่มวย คาดเชือกถูกระงับการแข่งขันให้เปลี่ยนไปใช้กติกาอิงสากล ลูกไม้กลมวย ต่างๆก็สูญหายไปมาก
        ครูแปรง เป็นศิษย์ติดตามใกล้ชิด ครูทอง เชื้อไชยา ผู้สืบทอดวิชามวยไทยไชยานี้มาจาก ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย(ปรมาจารย์คนสุดท้ายของวงการมวยไทย)ซึ่งได้เรียนวิชาจาก พระยาวจีสัตยรักษ์ เจ้าเมืองไชยาผู้เป็นพ่อ รวมทั้งได้เรียนวิชามวยโบราณจากครูอีก 13 ท่านจนแตกฉาน

ครูแปรง
 วิชามวยไทยไชยา 
         นอกจากมือเท้าเข่าศอกที่เห็นได้ทั่วไปในมวยไทยกระแสหลักแล้วยังมีวิชาที่ถูกลืมอย่างการ        " ทุ่ม ทับ จับ หัก"     ซึ่ง มีความร้ายกาจไม่แพ้วิชาการ ทุ่ม การล๊อคของศิลปะการต่อสู้อื่น หลักมวยอื่น ๆ ยังมีที่เป็นคำคล้องจองแต่มีความหมายลึกซึ้งทุกคำ อย่าง
                    "  ล่อ หลอก หลบ หลีก หลอกล่อ ล้อเล่น " หรือ " กอด รัด ฟัด เหวี่ยง " 


ซึ่งเป็นวิชาการกอดปล้ำแบบหนึ่งซึ่งหาไม่ได้แล้วในมวยไทยสมัยปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง

"  ล้ม ลุก คลุก คลาน "     
ซึ่งเป็นการฝึกม้วนตัว ล้มตัว

        มิติการต่อสู้ของมวยโบราณอย่างมวยไทยไชยานั้นจึงไม่จำกัดเฉพาะการยืนต่อสู้ เท่านั้น การต่อสู้เมื่อจำเป็นต้องล้มลงก็ทำได้ และด้วยพื้นฐานของมวยไทยโบราณที่ถูกสร้างให้ใช้ในการศึกสงคราม การต่อสู้กับศัตรูพร้อมกันหลายคนนั้นเป็นอีกมิติหนึ่งที่ทำให้มวยไทยไชยา เป็นมวยที่ร้ายกาจ
  การเรียนการสอนของมวยไทยไชยานั้นจะเป็นระเบียบระบบแบบโบราณ นักเรียนจะได้เรียนตั้งแต่พื้นฐานวิชา เรียนการป้องกันตัว "   ป้อง ปัด ปิด เปิด " จนสามารถป้องกันการโจมตีได้อย่างมั่นใจแล้ว ลูกไม้มวยไทยต่าง ๆ ก็จะค่อยได้เรียนรู้ แตกต่างจากมวยไทยกระแสหลักที่ฝึกฝนการโจมตี เตะ ต่อย ทำลาย โดยอาศัยความทนทานเข้ารับลูกเตะต่อยของคู่ต่อสู้ ดั่งที่ครูแห่งมวยไทยไชยานี้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ศิลปะการป้องกันตัวย่อมต้องป้องกันตัวได้จริง ไม่ใช้ศิลปะการแลกกันว่าใครจะทนกว่ากันก็จะเป็นผู้ชนะไป
        ด้วยภูมิปัญหาของครูมวยโบราณที่สั่งสม แก้ไข ปรับปรุงจนวิชามวยไทยดั้งเดิมนั้นร้ายกาจ ด้วยกลเม็ด ลูกไม้ ไม้เด็ด หลากหลาย กลมวยสามารถแตกขยายไปได้เหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด ในทางกลับกันนั้นการสั่งสอนวิชาอันร้ายกาจนี้ก็ฝึกฝนให้นักเรียนเป็นคนอดทน มุ่งมั่นใจเย็น สุขุม จนในท้ายที่สุดแล้ววิชามวยแห่งการต่อสู้นี้เป็นอุปกรณ์พัฒนานักเรียนให้เป็น คนดีของสังคม ที่มีสติ ควบคุมกายให้ประพฤติตนดี มีครูสอนสั่ง
        ครูแปรง ได้วางแผนการสอนวิชาอาวุธที่คู่กับมวยไทยไชยาที่ รู้จักกันในชื่อ วิชากระบี่กระบองซึ่งมีวิชา ดาบสองมือ มีดสั้น พลองยาว ไม้ศอก รวมถึงอาวุธไทยโบราณแบบอื่นๆที่ไม่น่าจะหาเรียนได้ที่ไหนง่ายๆ เพื่อให้ครบหลักสูตรวิชาการต่อสู้ป้องกันตัวของไทยโดยแท้


การแต่งกายของนักมวย


 นักมวยนุ่งกางเกงขาก๊วย ไม่ใส่เสื้อ ใช้ผ้ามวนพันหุ้มแทนกระจับเรียกโละโปะ หรือลูกโปก ไม่ใส่นวม แต่ใช้ด้ายดิบพันมือ สวมมงคลแม้ในขณะชก


การฝึกมวยไชยา


การเรียนการสอนของมวยไทยไชยานั้นจะเป็นระเบียบระบบแบบโบราณ นักเรียนจะได้เรียนตั้งแต่พื้นฐานวิชา เรียนการป้องกันตัว " ป้อง ปัด ปิด เปิด " จนสามารถป้องกันการโจมตีได้อย่างมั่นใจแล้ว ลูกไม้มวยไทยต่าง ๆ ก็จะค่อยได้เรียนรู้ แตกต่างจากมวยไทยกระแสหลักที่ฝึกฝนการโจมตี เตะ ต่อย ทำลาย โดยอาศัยความทนทานเข้ารับลูกเตะต่อยของคู่ต่อสู้ ดั่งที่ครูแห่งมวยไทยไชยานี้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ศิลปะการป้องกันตัวย่อมต้องป้องกันตัวได้จริง


การฝึกมวยไชยา 5 ขั้นตอน



1.พื้นฐานมวยไทยไชยาเบื้องต้น (Basic MUAYCHAIYA) หลักการมวยไชยา ท่าฝึกเบื้องต้น การจรดมวย


2.พื้นฐานการเคลื่อนไหว (Basic Movement) ท่าเคลื่อนไหวพื้นฐาน ย่างสามขุม บุก หลบหลีก ล่อหลอก


3. พื้นฐานการใช้อาวุธ (Basic Offence) การออกอาวุธ หมัด เท้า ศอก เข่า แขน แข้ง ขา


4. พื้นฐานการป้องกัน (Basic Defense) การป้องกันอาวุธ ป้อง ปัด ปิด เปิด


5. การป้องกันตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ (Practical Situation Self Defense) การป้องกันตัวในสถานการณ์คับขัน การเอาตัวรอดจากการถูกล็อค หรือถูกประทุษร้ายในลักษณะต่าง ๆ

 การฝึกเดินพลิกเหลี่ยมสามขุมขั้นต้น
การฝึกหัดมวยไชยา ปีนป่าย

0 comments:

Post a Comment