แม่ไม้มวยไทย ๑๕ ท่า

.

แม่ไม้มวยไทย ๑๕ ท่า






แม่ไม้มวยไทย ๑๕ ท่า
แม่ไม้มวยไทยที่สำคัญขนาดยอดเยี่ยม โบราณาจารย์ผู้ทรงคุณ ท่านได้จัดแบ่งไว้ ๑๕ ท่า คือ
 การใช้ หมัด ศอก เข่า เท้า มีทั้งรุก และรับ ในจังหวะสถานการณ์ต่าง ๆ กันตั้งเป็นชื่อกล ต่าง ๆ เพื่อการจดจำ
แม่ไม้มวยไทย ๑๕ ท่า
๑.สลับฟันปลา                                                     รับวงนอก
๒.ปักษาแหวกรัง                                                  รับวงใน
๓.ชวาซัดหอก                                                      ศอกวงนอก
๔.อิเหนาแทงกฤช                                                ศอกวงใน
๕.ยกเขาพระสุเมรุ                                                ต่อยตั้งหมัดต่ำก้มตัว ๔๕ องศา
๖.ตาเถรค้ำฟัก                                                      ต่อยคางหมัดสูงก้มตัว ๖๐ องศา
๗.มอญยันหลัก                                                    รับต่อยด้วยถีบ
๘.ปักลูกทอย                                                         รับเตะด้วยศอก
๙.จระเข้ฟาดหาง                                                   รับต่อยด้วยเตะ
๑๐.หักงวงไอยรา                                                  ถองโคนขา
๑๑.นาคาบิดหาง                                                   บิดขาจับตีเข่าที่น่อง
๑๒.วิรุณหกกลับ                                                   รับเตะด้วยถีบ
๑๓.ดับชวาลา                                                        ปัดหมัดต่อยตอบ
๑๔.ขุนยักษ์จับลิง                                                  รับ-เตะ-ต่อย-ถอง
๑๕.หักคอเอราวัณ                                                 โน้มคอตีเข่า
กลแม่ไม้มวยไทย
กล ๑ สลับฟันปลา (รับวงนอก)


แม่ไม้กล ๑ นี้ เป็นไม้หลักหรือไม้ครูเบื้องต้น ใช้รับและหลบหมัดตรงของคู่ปรปักษ์ที่ชกนำอย่างรุนแรง และหนักหน่วง หลบออกวงนอก นอกลำแขนของคู่ปรปักษ์ ทำให้หมัดตรงของผู้ชกเลยหน้าไป
ก. ฝ่ายรุกชกด้วยหมัดตรงซ้าย พร้อมกับตัวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า หมายชกบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาหลบไปทางกึ่งขวา ๑ ก้าว พร้อมทั้งโน้มตัวเอนไปทางขวาประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนักตัวอยู่บน เท้าขวา ขาขวางอเล็กน้อย ศีรษะและตัวหลบออกวงนอกของหมัดฝ่ายรุก ทันใดใช้มือขวาจับกำคว่ำที่แขนท่อนบน ของฝ่ายรุก มือซ้าย จับ กำ หงาย ที่ข้อมือของฝ่ายรุก (ท่าคล้ายจับหักแขน)
กล ๒ ปักษาแหวกรัง (รับวงใน)


ก. ฝ่ายรุกชกใบหน้าฝ่ายรับด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าสืบไปข้างหน้า เฉียงไปทางกึ่งซ้ายเล็กน้อยภายในแขนซ้ายของฝ่ายรุก ตัวเอนประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าซ้าย ทันใดให้งอแขนทั้ง ๒ ขึ้น ปะทะแขนท่อนบนและท่อนล่างของฝ่ายรุกไว้โดยเร็ว หมัดของ ฝ่ายรับทั้งคู่ ชิดกัน (คล้ายท่าพนมมือ) ศอกกางประมาณ ๑ คืบ ศีรษะและใบหน้ากำบังอยู่ระหว่างแขนทั้งสอง ตาคอย ชำเลืองดูหมัดขวา ของฝ่ายรุก
กล ๓ ชวาซัดหอก (ศอกวงนอก)


ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดตรงซ้ายยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าเอนตัวไปทางกึ่งขวา ตัวเอนประมาณ ๓๐ องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา ทันใดรีบงอแขนซ้าย ใช้ศอกกระแทก ชายโครงใต้แขนซ้ายของฝ่ายรุก
กล ๔ อิเหนาแทงกฤช (ศอกวงใน)


ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า ตัวเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อยตัวเอนประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนักตัวอยู่บน เท้าซ้าย งอศอกขวา ขนานกับพื้น ตีระดับชายโครงฝ่ายรุก ตอบด้วยแขนซ้าย
กล ๕ ยกเขาพระสุเมรุ (ต่อยตั้งหมัดต่ำก้มตัว ๔๕ องศา)


ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาพร้อมกับย่อตัวต่ำเข้าหาฝ่ายรุก งอเข่าขวา ขาซ้ายตึง ย่อตัวต่ำเอนไปข้างหน้าประมาณ ๔๕ องศา น้ำหนักตัวอยู่บนขาขวา ทันใดนั้น ให้ยืดเท้าขวายกตัวเป็นแหนบ พร้อมกับพุ่งหมัดชกขวาเสยใต้คางของฝ่ายรุก หน้าเงยดูคาง ของฝ่ายรุก แขนซ้ายกำบังอยู่ตรงหน้าเสมอคาง
กล ๖ ตาเถรค้ำฟัก (ต่อยคางหมัดสูงก้มตัว ๖๐ องศา)


ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้าของฝ่ายรุก ทางกึ่งขวาของวงหมัดภายในของฝ่ายรุกที่ชกมา งอเข่าซ้าย เล็กน้อยใช้หมัดซ้าย ชกใต้คางของฝ่ายรุก แล้วใช้แขนยวาที่งอป้องหมัดซ้ายฝ่ายรุกที่ชกมาให้พ้นตัว
กล ๗ มอญยันหลัก (รับต่อยด้วยถีบ)


ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ ผลักตัวเอนไปทางขวา เอนตัวหนีฝ่ายรุกประมาณ ๔๕ องศา ยืนบนเท้าขวา แขนทั้ง ๒ งออยู่ตรงหน้า เหลียวดู ฝ่ายรุก ทันใดนั้น ยกเท้าซ้ายถีบที่ยอดอก หรือท้องน้อยของฝ่ายรุกให้กระเด็นห่างออกไป
กล ๘ ปักลูกทอย (รับเตะด้วยศอก)


ใช้รับการเตะกราดของคู่ต่อสู้ โดยใช้ศอกรับสลับกัน
ก. ฝ่ายรุก ยืนตรงหน้าพอได้ระยะเตะ ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ จากขวาไปซ้าย โน้มตัว เล็กน้อย งอแขนทั้ง ๓ ป้องกันตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบผลักตัวไปทางซ้าย พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายฉากไปข้างหลัง ใช้แขนขวางอศอกขึ้นรับเท้าของฝ่ายรุกที่เตะมา แขนซ้ายงอป้องกันอยู่ตรงหน้าสูงกว่าแขนขวาเพื่อป้องกันพลาดถูกใบหน้า
กล ๙ จระเข้ฟาดหาง (รับต่อยด้วยเตะ)


แม่ไม้นี้ใช้ส้นเท้าฟาดไปทางด้านหลัง เมื่อคู่ต่อสู้พลาดแล้วถลันเสียหลัก จึง หมุนตัวเตะด้วยลูกเหวี่ยงส้นเท้า
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวากระโดดไปทางกึ่งขวา ให้พ้นหมัดฝ่ายรุก แขนงอกำบังตรงหน้าแล้วใช้เท้าซ้าย เป็นหลักหมุนตัว เตะด้วยส้นเท้าขวาบริเวณท้องหรือคอ

กล ๑๐ หักงวงไอยรา (ถองโคนขา)


ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังชายโครงของฝ่ายรับ งอแขนทั้ง ๒ บังอยู่ตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรุกตรงหน้าเกือบประชิดตัว ข้างตัวไปทางซ้าย เข่าขวางอ เท้าซ้ายเหยียดตรง ทันใด เอามือซ้ายจับเท้าขวาของฝ่ายรุก ต้องพยายามยกขาฝ่ายรุกให้สูง กันฝ่ายรุกใช้ศอกถองศีรษะ
กล ๑๑ นาคาบิดหาง (บิดขาจับตีเข่าที่น่อง)


ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ แขนทั้ง ๒ งออยู่ตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบผลักตัวไปทางซ้าย ยืนบนเท้าซ้าย มือซ้ายจับส้นเท้าของฝ่ายรุก มือขวาจับที่ปลายเท้าบิดออกนอกตัว ทันใดนั้น รีบยกเข่าขวาตีที่น่องของฝ่ายรุก
กล ๑๒ วิรุณหกกลับ (รับเตะด้วยถีบ)


แม่ไม้นี้ ใช้รับการเตะโดยใช้ส้นเท้า กระแทกที่บริเวณโคนขา
ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าซ้ายเตะกลาง ลำตัวบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ
ข.ฝ่ายรับ รีบยกเท้าซ้ายถีบไปที่ บริเวณโคนขาซ้ายของฝ่ายรุกพร้อมยกแขน ทั้งสองกันด้านหน้า การถีบนั้นต้องถีบให้เร็ว และแรงถึงขนาด ฝ่ายรุกหมุนกลับเสียหลัก


กล ๑๓ ดับชวาลา (ปิดหมัดต่อยตอบ)


แม่ไม้นี้ใช้แก้การชกด้วยหมัด ตรงโดยชกสวนที่ใบหน้า 
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายไปยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า แขนขวาคุมบริเวณ ปลายคาง
ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้ากึ่งขวาหลบอยู่นอกหมัดซ้ายของฝ่ายรุก เอี้ยวตัวไปทางขวา ปัดและกดแขนซ้าย ของฝ่ายรุกที่ชกมา ให้เอนไปทางซ้าย กดให้ต่ำลง ทันใดรีบใช้หมัดซ้ายต่อย บริเวณปากครึ่งจมูกครึ่ง หรือที่เบ้าตา ของฝ่ายรุก แล้วพุ่งตัวโดด ไปทางกึ่งขวา
กล ๑๔ ขุนยักษ์จับลิง (รับ - ต่อย - เตะ - ถอง)
ไม้นี้เป็นไม้สำคัญมาก ใช้แก้ลำคู่ต่อสู้ที่ไวในการต่อย เตะ ถอง ติดพันกัน การปฏิบัติ แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
ตอนที่ ๑


ก. ฝ่ายรุก พุ่งหมัดซ้ายตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบเท้าเข้าหาตัวฝ่ายรุกตรงหน้า แขนขวาปัดแขนซ้ายฝ่ายรุกให้พ้นจากตัว
ตอนที่ ๒


ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ
ข.ฝ่ายรับ รีบผลักตัว ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง ราวกึ่งซ้ายย่อตัวใช้ศอกขวาถองที่ขาขวาท่อนบนของฝ่ายรุก
ตอนที่ ๓


ก. ฝ่ายรุก งอแขนขวาโน้มตัวถองชกศีรษะของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ รีบยืดตัว งอแขน ให้แขนท่อนบนปะทะแขนท่อนล่างของฝ่ายรุก แล้วรีบผลักตัว ก้าวเท้าขวาไปทางหลัง ประมาณกึ่งขวา
กล ๑๕ หักคอเอราวัณ (โน้มคอตีเข่า)


ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวาคุมอยู่บริเวณคาง
ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายสืบไปตรงหน้าฝ่ายรุกอย่างรวดเร็ว พร้อมกับยกแขนขวาสอดปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุก แล้วโดด เข้าเหวี่ยงคอฝ่ายรุก โน้มลงมาโดยแรง แล้วตีด้วยเข่าบริเวณใบหน้า

0 comments:

Post a Comment