Sunday, June 2, 2013

วิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับกีฬามวยไทยของผู้ฝึกสอนกีฬา

วิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับกีฬามวยไทยของผู้ฝึกสอนกีฬา
http://sportscience.dpe.go.th/web/main/images/box_1.gif
     ในอดีตที่ผ่านมาการได้มาซึ่งนักมวยไทยที่มีความสามารถ มีกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรูและถ่ายทอดกันมา โดยไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาสนับสนุนมากนัก นักกีฬาหลายๆ คนยังวิ่งทุกวัน และนานๆ อาหารที่ทานก็ยังมีคุณภาพ ปริมาณและมีช่วงเวลาของการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ท่านในฐานะของผู้ที่มีอิทธิพลสูงมากกับพัฒนาการของนักมวยไทย มีความเข้าใจและได้นำหลักการนี้ไปใช้กันมากน้อยแค่ไหนหรือยัง

     เมื่อท่านคือผู้ที่กำหนดแผนการฝึกซ้อมที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของนักกีฬามวยไทย เข้าใจวิทยาศาสตร์การกีฬาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกีฬาทุกชนิด รวมทั้งมวยไทยที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากด้วย มีชาวต่างชาติหายชาติที่ให้ความสนใจและฝึกซ้อมเพื่อความเป็นเลิศทางกีฬามวยไทย และด้วยการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ โอกาสที่เขาจะนำและแซงเราคนไทยมีสูง ผู้ฝึกสอนมวยไทยจึงควรเข้าใจแลรับเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาไปพัฒนานักกีฬาอย่างเป็นระบบต่อไป

     หลักการย่อยที่เป็นหลักการที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัย ที่เป็นวิทยาศาสตร์นี้มี หลายด้าน ได้แก่ ด้านสรีรวิทยาการกีฬา โภชนาการศาสตร์การกีฬา จิตวิทยาการกีฬา ชีวกลศาสตร์การกีฬา และเวชศาสตร์การกีฬา ในแต่ละด้านของหลักการย่อยที่อยากให้ท่านได้ทราบเพื่อให้การเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬามวยไทยเพื่อการแข่งขันสามารถบรรลุเป้าหมายของการเล่น  เริ่มตั้งแต่ สรีรวิทยาการกีฬา เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายในการใช้พลังงาน ต่อการทำงานของร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การฝึกร่างกาย การฝึกในที่สูง ในอากาศร้อน เย็น การฝึกร่างกายเพื่อความพร้อมในการนำไปใช้ในการเล่นกีฬาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น ขณะที่หลักการด้านโภชนาการศาสตร์การกีฬา เป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอาหารกับกีฬา ไม่ว่าจะเป็นอาหารก่อน ระหว่าง และหลังการเล่นกีฬา อาหารเสริม อาหารไทยกับอาหารต่างชาติ ปริมาณและความถี่ของการกินอาหาร รวมทั้งเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬามวยไทย เป็นต้น สำหรับหลักการย่อยที่ 3 คือเรื่องของจิตวิทยาการกีฬา ซึ่งเป็นเรื่องของจิตใจต่อการเล่น การฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬา จิตใจก่อน ระหว่างและภายหลังการเล่นกีฬา ฝึกมวยไทยให้สนุกทำอย่างไร เจตคติในการเล่นกีฬา ความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการเล่นกีฬา สมาธิ ระเบียบวินัยในการเป็นนักกีฬา ความเครียด ความวิตกกังวล ความกลัว ความตื่นเต้นกับการเล่นกีฬา การจัดการกับความเครียด ล้วนเป็นองค์ประกอบที่ส่งเสริมให้องค์ประกอบของความสำเร็จในการเป็นนักมวยไทยมีมากขึ้น เป็นต้น ด้านชีวกลศาสตร์การกีฬา เป็นส่วนย่อยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการทำงานของร่างกาย น้ำหนักของร่างกาย แรง และความเร็วในการเพิ่มศักยภาพการเล่นมวยไทย การถ่ายโอนน้ำหนักของร่างกาย และทิศทางของแรง ที่อาศัยองค์ความรู้ทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์เป็นหลัก และประเด็กย่อยสุดท้ายคือ ด้านเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นสาขาย่อยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยที่มีผลจากการเล่นมวยไทยมีมากมายและตลอดเวลา โดยจะกล่าวถึงประเด็น ของสาเหตุของการบาดเจ็บ บริเวณที่บาดเจ็บ อาการ การป้องกัน ยาที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะในการอบอุ่นร่างกายและการเหยียดยืดกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อ ในการเล่นมวยไทย

     หวังว่าท่านจะเข้าใจและรับหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาไปช่วยนักกีฬาของท่าน ให้บรรลุเป้าหมายของความสำเร็จในการชกมวยไทย ดังนั้นหากท่านเป็นผู้ฝึกสอนนักมวยไทย ท่านจึงควรทำความเข้าใจกับวิทยาศาสตร์การกีฬา ว่าเป็นเรื่องของอะไร วิทยาศาสตร์การกีฬามีส่วนช่วยพัฒนานักกีฬาของเราอย่างไร ส่วนรายละเอียดในแต่ละด้านของสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่มีพัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่ง สามารถหาราย ละเอียดได้ต่อไป ที่จะค่อยๆ ทยอยให้ความรู้ต่อๆไป นอกจากเวปไซต์ของสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬานี้แล้ว ท่านยังสามารถหาข้อมูลในรายละเอียดนี้ได้อีกหลายแนวทาง รวมทั้งการติดต่อสถาบัน การศึกษาที่ให้บริการทางวิชาการด้านนี้ด้วย

ขำขำมวยไทย

ขำขำมวยไทย

เป็นการชกโชว์ครับ ของอดีตนักมวยแชมป์ รุ่นฟายเวต ต่อยจริง เจ็บจริง แต่ต่อยโชว์ เหมือนมวยปล้ำต่างประเทศเลย เหอะๆ เลือดออกจริง

Thursday, January 17, 2013

กมธ.กีฬา-ส.ว.ช่วยปลุกมวยไทย,มวยสากลอาชีพ

กมธ.กีฬา-ส.ว.ช่วยปลุกมวยไทย,มวยสากลอาชีพ
Pic_2964

กมธ.กีฬา ส.ว.
ช่วย ปลุกกีฬามวยไทยอาชีพ และมวยสากลอาชีพ อีกทาง เตรียมจัดสัมมนา เชิญผู้เกี่ยวข้องระดมสมองเพื่อร่วมกันพัฒนา ช่วงเดือนมิ.ย.หรือก.ค.นี้ วรวุฒิ โรจนพานิช ประธาน เสนอ ภาครัฐควรต้องช่วยสนับสนุนงบประมาณ ให้เงินเดือนแชมป์ของแต่ละเวทีมาตรฐาน ลุมพินี ราชดำเนิน เพื่อให้นักมวยรักษาสภาพของตนเอาไว้ เป็นการรักษาศิลปะการต่อสู้ของชาติ ส่วนมวยสากลอาชีพ รัฐก็ต้องสนับสนุนด้วย เพื่อให้เมืองไทยมีแชมป์โลกมากขึ้น ขณะที่สภามวยโลก บรรจุมวยไทย เป็นสาขาหนึ่งของสถาบันแล้ว ด้าน สันติภาพ เตชะวณิช ที่ปรึกษากมธ. เสนอ ให้มีการกำหนดวันเวิลด์มวยไทยเดย์


นายวรวุฒิ โรจนพานิช ประธานคณะกรรมาธิการการกีฬา วุฒิสภา (กมธ.กีฬา ส.ว.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฯ ที่ห้องประชุม 307 อาคารรัฐสภา 2 เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมหารือเรื่องการจัดสัมมนาวาระแห่งชาติ "มวยไทยอาชีพ-มวยสากลอาชีพ" โดยได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ ส.ว.อุดรธานี เป็นประธานคณะทำงาน นายไพบูลย์ แก่นนาคำ เป็นเลขานุการ ซึ่งจะมีการเชิญผู้เกี่ยวข้อง เช่น การกีฬาแห่งประเทศไทย, สมาคมมวยไทย และบุคลากรในวงการมวย มาร่วมระดมความคิดเห็น กำหนดเบื้องต้นจะจัดขึ้นในช่วงเดือน มิ.ย.หรือ ก.ค.นี้

ประธาน กมธ.กีฬา ส.ว. กล่าวว่า แนวคิดในการจัดสัมมนา มาจากการที่ กมธ.กีฬา เห็นว่า ปัจจุบัน มวยสากลอาชีพและมวยไทยอาชีพของไทย อยู่ในสภาวะตกต่ำมาก ในฐานะที่ กมธ.กีฬา ส.ว. เป็นองค์กรที่มีส่วนผลักดันสนับสนุนเรื่องกีฬา จึงเห็นควรเชิญผู้เกี่ยวข้องร่วมระดมความคิดเห็น ทั้งการกำหนดกติกาของมวยไทยให้เป็นสากล การพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา การยกระดับผู้ตัดสินและผู้ฝึกสอน เบื้องต้น ในส่วนของมวยสากล เห็นว่า ภาครัฐควรให้การสนับสนุนการสร้างแชมป์โลกในสถาบันหลัก ด้วยการอุดหนุนงบประมาณในการเดินทางไปชิงแชมป์ต่างประเทศหรือการป้องกัน แชมป์โลกในประเทศไทย เพราะแต่ละรายการมีค่าใช้จ่ายสูงจนผู้จัดประสบปัญหา หากไม่มีการสนับสนุนต่อไปเมืองไทยอาจไม่มีแชมป์โลกอีก
ขณะที่มวยไทยอาชีพนั้น นาย วรวุฒิ กล่าว ว่า ภาครัฐควรสนับสนุนเป็นเงินเดือนของแชมป์แต่ละเวทีมาตรฐาน เช่น ลุมพินี, ราชดำเนิน เดือนละ 10,000 บาท เพื่อให้นักมวยสามารถรักษาสภาพของตนได้อย่างดี และเป็นการรักษาศิลปะต่อสู้ประจำชาติได้ทางหนึ่ง ขณะเดียวกันจะพิจารณาแนวทางในการยกระดับการแข่งขันไม่ให้มีแต่เซียนพนันเข้า ชม เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ จากการที่ พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ รองประธานสภามวยโลก แจ้งว่า โฮเซ่ สุไลมาน ประธานสภามวยโลก ได้บรรจุมวยไทย เข้าเป็นสาขาหนึ่งของสถาบันแล้ว ดังนั้นในการสัมมนาจะช่วยกันรวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดมาตรฐานด้านต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนด้วย

"การที่สภามวยโลก บรรจุให้มวยไทยเป็นสาขาหนึ่งอย่างเป็นทางการแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการยกระดับองค์ประกอบให้เป็นสากล เช่น กติกาการให้คะแนน ที่ยังแตกต่างกันแต่ละเวที หรือการที่ยังไม่มีการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ ทั้งหมดถ้าทำได้ เชื่อว่า จะสร้างประโยชน์ได้มหาศาล ต่อไปค่าตัวนักมวยจากที่ได้ในระดับเงินแสน อาจขึ้นไปเป็นระดับล้านบาทได้ ถ้าไปถึงการแข่งขันนานาชาติแล้ว" นายวรวุฒิ กล่าว

ด้านนายสันติภาพ เตชะวณิช ที่ปรึกษา กมธ. กีฬา ส.ว. กล่าวว่า เห็นด้วยกับการสัมมนา และควรหารือเรื่องการกำหนดมาตรฐานการสอบระดับชั้นของนักกีฬา เหมือนกับยูโดหรือคาราเต้ ที่มีการวัดระดับฝีมือโดยแบ่งเป็นระดับสายต่าง ๆ ให้เป็นสากล นอกจากนี้ควรมีการกำหนดวัน เวิลด์มวยไทยเดย์ เพื่อให้เป็นวันที่มีการจัดกิจกรรม เช่น การไหว้ครูมวย อย่างพร้อมเพรียงกัน

ดันมวยไทยสอนเด็กประถมไม่คืบ

ดันมวยไทยสอนเด็กประถมไม่คืบ



ตามที่ "คม ชัด ลึก" เสนอข่าว นายนิโรธ สุนทรเลขา ประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา สภาผู้แทนราษฎร พยายามผลักดันให้บรรจุกีฬามวยไทยสมัครเล่นไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีความคืบหน้าเมื่อคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันว่า สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีโรงเรียนในสังกัด 32,000 แห่ง พร้อมให้การสนับสนุน



ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงข่าวที่อาคารนิมิบุตร แต่ปรากฏว่าคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวและกีฬา ไม่สามารถมาร่วมงานได้ เนื่องจากติดภารกิจที่สภา จึงมอบหมายให้นายเสน่ห์ จารุวราภิรมย์ ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร มาเป็นตัวแทนแถลงข่าว โดยในงานดังกล่าวมีการนำนักมวยเด็กมาชก และรำมวยไทยโชว์สื่อมวลชน จากนั้น นายเสน่ห์ เผยว่า

มวยไทยสมัครเล่นไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น เพราะมีการ์ดป้องกันแน่นหนาทุกส่วนของร่างกาย ในขณะเดียวกันยังช่วยส่งเสริมอนุรักษ์กีฬามวยไทยไม่ให้สูญพันธุ์ ส่งผลดีต่อสุขภาพ และใช้ป้องกันตัวได้

"จากนี้ผมจะนำเทปที่บันทึกไปให้คุณหญิงกษมาดูอีกครั้ง เพื่อพิจารณา หากว่าคุณหญิงกษมาเห็นดีด้วย ก็จะเข้าสู่ขบวนการบรรจุหลักสูตรมวยไทยสมัครเล่นในการเรียนการสอนต่อไป"

ด้าน "น้องตั้ง" ด.ช.จักรพงษ์ สุริยะจันทร์ อายุ 9 ขวบ ชาว จ.หนองคาย ที่ชกมวยไทยมาแล้ว 4 ปี ชื่อมวยไทย “กุมารทอง ศิษย์ทรายทอง” ผ่านสังเวียน 60 ไฟท์ ชนะ 52 ไฟท์ เสมอ 1 ไฟท์ แพ้ 7 ไฟท์ เผยว่า ชกมวยไทยอาชีพ ขนาดไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกันตัวไม่เคยบาดเจ็บหนักถึงขนาดเข้ารักษาโรงพยาบาล มีรายได้จากการชกให้ครอบครัวหลายพันบาทต่อเดือน โดยค่าตัวอยู่ที่ไฟท์ละ 2,000-2,500 บาท ส่วน “น้องแนน” ด.ญ.รัชมาภรณ์ เฟื่องอารมย์ อายุ 10 ขวบ ที่เรียนมวยไทยมาแล้ว 3 เดือน กล่าวว่า ชอบชกมวยไทยมาก ชกแล้วสนุก ได้ออกกำลังกาย และคิดว่า ผู้หญิงหากมีวิชามวยไทยไว้ จะสามารถช่วยป้องกันตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้

ประวัติกีฬามวยไทย

ประวัติกีฬามวยไทย
มวย ไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและการ ต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภทนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและ ป้องกันชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการฝึกฝนวิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างชัดเจน ทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธรบในสมัยโบราณเช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้ว จะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าสู้ติดพันประชิดตัวก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบาง ส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้น ผู้ใหญ่หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดาอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดขุนพล หรือนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้



มวย ไทยเป็นศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวแต่แตกต่างไปจากมวยสากล คือนอกจากจะใช้หมัดชกคู่ต่อสู้แล้ว ยังสามารถใช้เท้าและศอกต่อสู้ได้อีก การใช้หมัดชกในแบบมวยไทย นอกจากจะมีการชกตรง ชกฮุก และอัปเปอร์คัท เหมือนกับแบบมวยสากลแล้ว มวยไทยยังมีการชกแบบหมุนตัว เหวี่ยงหมัดกลับถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้จ้องดูและไม่ก้มศีรษะลง มักจะถูกหมัดเหวี่ยงกลับของคู่ต่อสู้ถึงกลับน้อกเอ๊าท์ได้ หมัดเหวี่ยงกลับเป็นหมัดหนึ่งคล้ายกับหมุนตัวเหวี่ยงหมัดกลับ แต่ใช้ข้อมือหรือหลังมือทุบหรือต่อสู้ นักมวยไทยทั่ว ๆ ไปยังใช้วิธีการตามแบบชกตามแบบเหล่านี้อยู่และนอกจากนั้นยังใช้อวัยวะอย่าง อื่นช่วยได้อีกหลายวิธี เช่น ใช้เท้า เตะต่ำ เตะสูง เตะตรง และถีบ ซึ่งจะใช้ทั้งปลายเท้าฝาเท้า หลังเท้าและส้นเท้า นักมวยไทยมีความชำนาญมากในการใช้เท้า ส่วนใหญ่เป็นการเตะและถีบ ส่วนการใช้เข่า นักมวยไทยก็ใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น กระโดดตีเข่า นอกจากนั้นยังรู้จักใช้ศอกซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอย่างยิ่ง วิธีตีศอกก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน คือ ศอกตี หมายถึงกดปลายศอกลง โดยแรง ศอกตัด คือเหวี่ยงศอกขนานกับพื้น ศอกงัด คือ งัดปลายศอกขึ้นหรือยกปลายศอกขึ้น ศอกพุ่ง คือ พุ่งศอกออก ไปยังคู่ต่อสู้ ศอกกลับ คือ การหมุนตัวกลับพร้อมกับตีศอกตามแบบต่าง ๆ ไปด้วย

 การ ชกมวยไทยในสมัยโบราณเป็นการต่อสู้กันแบบตัวต่อตัว ต่อสู้กันจริง ๆ และหวาดเสียวตื่นเต้นมากกว่าสมัยนี้ นักมวยสมัยเก่าต้องใช้ด้ายดิบชุบแป้งให้แข็ง มักเล่ากันว่าใช้น้ำมันชุบเศษแก้ว เพื่อให้มีพิษสงยิ่งขึ้น แต่ก็ได้มีผู้คัดค้านว่าไม่เป็นความจริงที่จริงนั้นคือไปเอาด้ายผูกศพพันมือ ซึ่งมีน้ำเหลืองติดเป็นเหมือน ๆ แป้งชุบเศษแก้ว ทั้งนี้เพราะต้องการความขลัง ชนะคู่ต่อสู้ได้ในทางจิตใจมากกว่า ด้ายสายสิญจน์เป็นเส้นขนาดดินสอดำ พันมือตั้งแต่สันมือถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อมือ ( สันหมัด ) เป็นรูปก้นหอยเรียกว่า “ คาดเชือก ” ซึ่งไม่มีการสวมนวมเหมือนๆ อย่างสมัยปัจจุบัน ฉะนั้นก็แน่นอนทีเดียวว่าจะทำให้เลือดซึมออกมาทันที ในสมัยก่อนเมื่อครั้งยังไม่มีกติกาข้อห้ามมากนักกับทั้งไม่รัดกุมเหมือนสมัย ปัจจุบัน นักมวยทั้งสองฝ่ายจะต้องต่อสู้กันอย่างระมัดระวังศีรษะก็ใช้ชนคู่ต่อสู้ เพียงแต่ห้ามกัดกันเท่านั้น ต่อมาได้แก้ไขปรับปรุงกติกาการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน



การ แข่งขันมวยไทยในปัจจุบันนี้ นักมวยต้องสวมนวมขนาด 4 ออนซ์ และแต่งกายแบบนักกีฬามวย คือ สวมกางเกงขาสั้น สวมกระจับ ส่วนผู้ใดจะสวมปลอกรัดข้อเท้าและจะมีเครื่องรางของขลังผูกไว้ที่แขนท่อนบนก็ ได้ ในการแข่งขันมีผู้ตัดสินชี้ขาดบนเวที 1 คน มีผู้ตัดสินให้คะแนนอยู่ข้างเวที 2 คน มีผู้จับเวลา 1 คน และมีแพทย์ประจำเวที 1 คน จำนวนยกในการแข่งขัน ทั้งหมดมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามน้ำหนักของนักมวยเหมือนกับหลักเกณฑ์ของนักมวยสากล ผู้ตัดสินมีอำนาจหน้าที่ตามกติกาการแข่งขัน อวัยวะที่ใช้ในการแข่งขันได้ คือ หมัด เท้า เข่า และศอก เข้าชก เตะ ถีบ ทุบ ถอง ตี ฯลฯ ได้ทุกส่วนของร่างกายโดยไม่จำกัดที่ชก
ก่อน การแข่งขันนักมวยทั้งสองจะทำการไหว้ครูและร่ายรำ คือ กราบสามครั้งเพื่อระลึกถึงบิดามารดา ครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ ตลอดจนขอคุณพระศรีรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วยคุ้มครองตน และขอให้ได้ชัยชนะด้วยความปลอดภัยในที่สุด แล้วจึงร่ายรำไปรอบ ๆ เวทีตามแบบฉบับของครูที่ได้สอนไว้ให้โดยตลอด นักมวยทุกคนจะสวม “ มงคล ” ที่ศีรษะมงคลนี้ทำด้วยเส้นด้ายดิบหลายเส้นรวมกันแล้วพันหุ้มด้ายผ้าโตขนาด นิ้วมือ ทำเป็นรูปวงเพื่อสวมศีรษะ การสวมมงคลไว้ก่อนแข่งขันนี้เป็นขนบธรรมเนียมของประเพณีไทยถือว่าเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งครูอาจารย์ได้ทำพิธีปลุกเสกและให้ความเป็นสิริมงคลไว้แก่ตน ฉะนั้น นักมวยจะสวมมงคลไว้ตลอดเวลาที่ทำการไหว้ครูและร่ายรำ และจะถอดออกจากศีรษะได้ในเมื่อจะเริ่มการแข่งขัน ในระหว่างการไหว้ครูและร่ายรำนั้นจะมีดนตรีบรรเลงประกอบตามทำนองดนตรีไทย เป็นจังหวะช้า ๆ เครื่องดนตรีเหล่านั้นได้แก่ ปี่ชวา 1 กลองแขก 2 และฉิ่ง 1 เมื่อถอดมงคลออกแล้ว กรรมการผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยทั้งสองมาจับมือกัน ซึ่งเป็นการแสดงถึงการมีน้ำใจเป็นนักกีฬาพร้อมกันนั้นก็จะตัดเตือนกติกา สำคัญๆ อันเกี่ยวกับการแข่งขันให้นักมวยทั้งสองได้ทราบครั้นเมื่อการต่อสู้ได้เริ่ม ขึ้นอย่างจริงจังแล้ว ดนตรีก็บรรเลงในทำนองเร่งเร้าให้นักมวยทั้งสองเกิดความรู้สึกฮึกเหิมและมุ่ง เข้าต่อสู้กันอย่างดุเดือด การร่ายรำและต่อสู้โดยมีดนตรีประกอบนั้น นอกจากจะถือว่าเป็นศิลปะแล้วยังเป็นประเพณีอันดีงามของชาวไทยมาแต่โบราณกาล จนไม่อาจจะทิ้งให้สูญหายไปเสียได้
ใน ปัจจุบัน การแข่งขันมวยไทยเป็นกีฬาอาชีพโดยสิ้นเชิง เฉพาะในกรุงเทพฯมีการแข่งขันเป็นประจำเกือบทุกวัน ๆ 2 รอบก็มี สำหรับการควบคุมมวยอาชีพขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยและไม่มี สมัครเล่นมวยสากลที่มิใช่อาชีพก็มีเพียงการฝึกสอนในสถาบันการพลศึกษา เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อมิให้ศิลปะมวยไทยสูญหายไปและเพื่อรักษาไว้ซึ่งการกีฬาประจำชาติ อันเป็นศิลปะในการต่อสู้ชาวต่างประเทศที่มีโอกาสได้มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ก็มักจะไม่ยอมพลาดโอกาสที่ไปชมการแข่งขันมวยไทยจะต้องพยายามเข้าชม แข่งขันมวยไทยให้ได้ ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของชาวต่างประเทศมาก เพราะมวยไทยมีวิธีการชกที่แปลกที่สุดในโลก และยิ่งกว่านั้นนักมวยไทยยังได้เคยเดินทางไปแสดงในต่างประเทศหลายครั้งจน เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไป

มวยไทย มรดกไทย มรดกโลก ปี 2016 กีฬามวยไทยจะไปโอลิมปิก

มวยไทย มรดกไทย มรดกโลก 
 ปี 2016 กีฬามวยไทยจะไปโอลิมปิก


http://www.xn--82c9iwa.com

มวยไทย มรดกไทย มรดกโลก ปี 2016 กีฬามวยไทยจะไปโอลิมปิก

"เส ธ.หนั่น" พลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรี หนุนเต็มที่มวยไทยเข้าอลป.ให้ได้ เร่งประสานกระทรวงต่างประเทศให้กีฬาชนิดนี้แพร่หลายใน 125 ชาติสมาชิกมากขึ้น ระบุเร็วสุดอาจเห็น "มวยไทย" เข้าไปเป็น 1 ใน 28 ชนิดกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 30 ที่บราซิลให้ได้

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา ที่โรงแรมเรดิสัน ได้มีการเปิดโครงการประชุม "มวยไทย เวิร์คช็อป" เพื่อพลักดันให้กีฬาชนิดนี้เข้าเป็น 1 ใน 28 ชนิดกีฬาของโอลิมปิกเกมส์ โดยมีบุคคลสำคัญในวงการมวยไทย และชาติสมาชิกจากทั่วโลกที่ทางสหพันธ์กีฬานานาชาติ หรือ "อิฟม่า" ให้การรับรอง 125 ชาติ ร่วมประชัมสัมนาอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมี พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี ในฐานะประธานที่ปรึกษาสภามวยไทยโลก และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นประธาน

http://www.xn--82c9iwa.com
มวยไทย มรดกไทย มรดกโลก ปี 2016 กีฬามวยไทยจะไปโอลิมปิก

เส ธ.หนั่น เปิดเผยกับทีมงาน MGR SPORTว่า รัฐบาลไทยมีความยินดีที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่ หลังรับทราบโอกาสของกีฬาชนิดนี้จะได้เข้าบรรจุอยู่ในกีฬาโอลิมปิก แต่ทุกอย่างต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาการสรรหาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี เสียก่อน คงต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันพลักดันอย่างสุดความสามารถ เพราะมวยไทยเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก ทุกวันนี้ผู้คนทั่วโลกสนใจที่จะเรียนมวยไทยมากขึ้น ส่งผลให้สร้างอาชีพและรายได้มหาศาล ที่สำคัญยังเป็นการเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม เพื่อให้ทุกคนรู้จักเมืองไทยมากขึ้น ล่าสุดทางกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้กีฬามวยไทยเข้าบรรจุอยู่ในการเรียน การสอนขั้นพื้นฐานตามโรงเรียนต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้วในปีการศึกษา 2553 นี้

http://www.xn--82c9iwa.com

มวยไทย มรดกไทย มรดกโลก ปี 2016 กีฬามวยไทยจะไปโอลิมปิก

อย่าง ไรก็ตาม"หล่อใหญ่" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้การสนับสนุนกีฬาอย่างเต็มที่ นอกเหนือจากกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและอาชีพที่ทำอยู่แล้ว ยิ่งถ้าหากมวยไทยได้บรรจุเข้าไปในกีฬาโอลิมปิกเกมส์จริง ยิ่งจะทำให้คนไทยภาคภูมิใจ อาจทำให้คนไทยหันมาสามัคคีกันก็เป็นได้ และถือว่า เป็นมติใหม่ที่ดี สำหรับกีฬามวยไทยที่มีต้นกำเนิดในบ้านเรามานานหลายร้อยปีจะได้ไปสู่โลกภาย นอก ส่วนตัวขอเอาใจช่วยให้โครงการดังกล่าวที่กำลังจะเริ่มต้นจงประสบความสำเร็จ ตามที่ทุกคนปรารถนา หากขาดเหลืออะไรทางรัฐบาลยินดีให้ความร่วมมือ

ด้านนายศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ นายกสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังได้ปรึกษาหารือกับ ดร.ณัฐ อินทรปาณ เมมเบอร์ไอโอซีของไทย ถึงขั้นตอนจากนี้ไปในการพลักดันมวยไทยเข้าโอลิมปิก ขั้นตอนแรกที่เราต้องเร่งทำ คือ ขอความร่วมมือจากกระทรวงต่างประเทศให้ชาติสมาชิกทั้ง 125 ประเทศที่ให้การสนับสนุนมวยไทย ได้มีโอกาสเรียนรู้วิชามวยไทย, การจัดการแข่งขัน และ ระบบบริหารจัดการต่างๆอย่างเต็มที่ เพื่อต้องการให้คนท้องถิ่นที่ไม่ใช่คนไทยได้สัมผัสกีฬาชนิดนี้มากขึ้น จากนั้นให้ อิฟม่า ที่เป็นองค์กรใหญ่ ไม่ใช่สมาคมมวยไทยเป็นคนดูแลโครงสร้างทั้งระบบเผยแพร่ประชาสัมพันธ์,การ จัดการแข่งขันต่างๆ ทำอย่างไรก็ได้ให้ทั้ง 5 ทวีปให้ความไว้วางใจ ที่ส่วนใหญ่เมมเบอร์ของไอโอซีจะอยู่ในแถบยุโรป ได้เห็นการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา หากขั้นตอนดังกล่าวทำอย่างจริงจังต่อเนื่อง เร็วที่สุด คือ โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 30 ที่เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในปี 2016 เราอาจได้เห็นกีฬามวยไทยมีสิทธิ์บรรจุก็เป็นได้

ที่มา MGR SPORT

มวยไทยมีลุ้น!เริ่มนับหนึ่งแผนเข้าโอลิมปิกเกมส์




กีฬามวยไทย ยังมีความหวังถูกผลักดันเข้าสู่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ หลังสร้างกระแสได้อย่างมากจนสมัชชาสหพันธ์กีฬานานาชาติหรือไกสฟ์เปิดปากชม เผยก้าวแรกต้องผ่านการรับรองจากไอโอซีให้ได้ยอมรับไม่ง่ายแต่ต้องพยายามเต็ม ที่
ความเคลื่อนไหวจากการประชุมใหญ่กีฬานานาชาติหรือสปอร์ตแอคคอร์ด 2011 เพื่อปรึกษาหารือถึงแนวทางการพัฒนาในอนาคตทั้งกีฬาที่บรรจุอยู่ในโอลิมปิกและไม่ได้บรรจุที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ซึงดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณนายาสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในฐานะประธานสหพันธ์มวยไทย สมัครเล่นนานาชาติ ได้เดินทางมาจัดบูทเพื่อโปรโมทกีฬา มวยไทย ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นซึ่งก็ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเมือง ผู้ดีและต่างชาติเป็นจำนวนมาก
ดร.ศักดิ์ชาย เผยว่า ได้พบกัน ไฮน์ เวอร์บรูเก้น ประธานสมัชชาสหพันธ์กีฬานานาชาติหรือไกส์ฟ โดย ไฮน์ ได้กล่าวว่าการแข่งขันกีฬาต่อสู้โลกครั้งที่1 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนเมื่อปีที่แล้วเป็นการสร้างกระแสกีฬาต่อสู้ที่ดีมากต่อจากนี้ไปการ แข่งขันกีฬาต่อสู้ภายใต้การรับรองของ ไกส์ฟจะต้องม่การบรรจุกีฬามวยไทยเข้าชิงเหรียญทองอย่างแน่นอน
ขณะที่การผลักดันกีฬามวยไทยเข้าไปสู่โอลิมปิกเกมส์ในอนาคตมีความเป็นได้ โดยขั้นตอนต่อไป อิฟม่า จะต้องสร้างความมั่นใจและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิกหรือไอโอซี เป็นอันดับแรกก่อนเพื่อจะได้ขยับฐานะมวยไทยให้เข้ารอบไปอยู่ใน กลุ่ม1ใน67ชนิดกีฬาที่ทางไอโอซีจะไปคัดเลือกสรรหาอีกทีแม้ว่าเรื่องนี้จะ ต้องใช้เวลากว่าไอโอซีจะรับรองแต่เราก็ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งและสนับสนุน อย่างเต็มที่

Tuesday, November 6, 2012

การฝึกซ้อมมวยไทยสมัยโบราณ

การฝึกซ้อมมวยไทยสมัยโบราณ


 การฝึกซ้อมมวยไทยสมัยโบราณ
การฝึกซ้อมมวยไทยในสมัยโบราณแม้จะไม่มีอุปกรณ์สำหรับฝึกซ้อมมวยไทยโดยเฉพาะ ดังเช่น ในปัจจุบัน แต่พื้นฐานการออกกำลังกายของนักมวยในแต่ละวันจะแฝงอยู่กับการเคลื่อนไหว เพื่อใช้แรงกายในการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นวิถีชาวบ้าน เช่น การหาบน้ำ กระเดียดน้ำ ผ่าฟืน ทำไร่ไถนา ตำข้าว วิ่งเล่นตามทุ่งนา ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้ได้ออกกำลังกายทุกวันร่างกายจึงแข็งแรงสม่ำเสมอ ส่วนอุปกรณ์ที่นำมาใช้ฝึกหัดมวยไทย จะเป็นของพื้นบ้านพื้นเมืองที่หาได้ง่ายและมีอยู่ทั่วไปในชนบท เช่น ต้นกล้วย ต้นมะพร้าว ผลมะนาว เป็นต้น
ฤาษีดัดตน 13 ท่าบท สำหรับการสร้างประสิทธิภาพพลวัตแห่งอำนาจไสยศาสตร์ในศิลปะมวยไทย 
                บันทึกของครูมวยไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการนำท่า 13 ใน 80 ท่าบทของฤาษีดัดตนที่บรรจุไว้ในจารึกวัดโพธิ์ (วัดเชตุพน  กรุงเทพฯ) มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของจิตสรีระที่จะใช้สำหรับการฝึกฝนศิลปะ มวยไทยโบราณ  จนเป็นตำนานเล่าสืบๆกันมาในอีกหลายๆครูมวยไทยในรุ่นถัดมา เท่าที่สามารถรวบรวมได้จำนวน 13 ท่าแม่บท มีดังนี้
                1. ยืดกายแบกฟ้า  มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้เกียจกาย
                2. วันทาขาเดียว มาจากแม่บทฤาษี ดัดตนแก้เข่า
                3. เหนี่ยวเท้าค้ำเข่า  มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ลมจันทรฆาฏ ลมเข่า ลมขา ลมหน้าอก
                4. มือท้าวดันขา มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ตะคริว มือเท้า
                5. กดกายาค้ำดิน มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้สะโพก สลักเพชร
                6. เหยียบธรณินผลักโลก มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ไหล่ขัด สะโพกขัด
                7. โยกเข่ายื้อมา มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ลมส้นเท้า
                8. ก้าวท่ายักษ์กุมภัณฑ์ มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ไหล่ แก้ขา
                9. เหนี่ยวกัณฐาดันเข่า  มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้สลักไหล่
                10. ศอกท้าวถ่างพับแข้ง  มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ลมในขา
                11. สำแดงท่ากบลีลา มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้เข่า ขาตาย
                12. โอบหัตถารับเท้า มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้เท้าเหน็บ
                13. สลับเข่ายื้อศอก  มาจากท่าแม่บทฤาษี ดัดตนแก้ขัดแขน

การไหว้ครู

การไหว้ครู


เป็นประเพณีของชาวไทย ซึ่งสำแดงถึงความกตัญญูรู้คุณ ในการแสดงศิลปะ วิชาการแขนงต่าง ๆ แทบทุกแขนง เช่น โขน ละคร ฯลฯ ก็มักจะถือเอาครู เป็นมิ่งขวัญสำคัญ ต้องกราบไหว้ก่อน และ ด้วยประเพณีนี้ ทำให้มวยซึ่งเป็นศิลปะวิชาการ ประเภทหนึ่ง ก็มีวิธี ไหว้ครูก่อนทำการชก

การไหว้ครู
บางท่านว่า ประเพณีเกิดจากสมัยเก่าก่อน การชกมวยมักจะมีต่อหน้าพระที่นั่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข มักเสด็จ ทอดพระเนตร ฉะนั้นนักมวยที่จะเข้าทำการต่อสู้กัน จึงต้องทำการถวายบังคมด้วยท่าทางของมวย มีฟ้อนรำตามประ เพณี เป็นการขอรับ พระราชทานอภัยในสิ่งที่ตนอาจพลาดพลั้งในกิริยาท่าทาง ฯลฯ


การไหว้ครู มีท่ารำอยู่หลายท่า ตามแต่ครูฝึกสอนจะนิยมนำมาให้ศิษย์ใช้ เช่น รำเทพพนม พรหมสี่หน้า นารายณ์น้าวศร ฯลฯ การรำดังกล่าวนี้ เมื่อได้กราบ ๓ รา ด้วยท่ามวยแล้ว จึงรำด้วยท่าใดท่าหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ในที่นี้จะได้นำมากล่าว เฉพาะ พรหมสี่หน้า ซึ่งนิยมกันมาก

พรหมสี่หน้า

เริ่มด้วยการนั่งคุกเข่า ๒ ข้างลงกับพื้น ทำมุมกาง ๙๐ องศา นั่งทับส้นเท้า

จังหวะ ๑
ยกมือพนมระหว่างคิ้ว แล้วเลื่อนลดลงมาหยุดเสมออก

จังหวะ ๒
แยกมือที่พนมออกจากกัน เหยียดตรงไปข้าง ๆ ตัว แล้วโน้มตัวไปข้างหน้า วกมือทั้ง ๒ ไปบรรจบกันข้างหน้า คว่ำแตะพื้น ศีรษะก้มลงในท่ากราบ แล้วผงกศีรษะทรงตัวตรงตามเดิม
จังหวะ ๑ - ๒ นี้เป็นท่ากราบ เมื่อทรงตัวตรง มือทั้ง ๒ กลับขึ้นพนมเหนือคิ้ว และลดพักเพียงอกอีก ทำท่ากราบนี้ให้ครบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบครั้งที่ ๓ แล้ว

จังหวะ ๓
เหยียดเท้าขวาออก เป็นท่าชันเข่ายืน แขนขวาออกแรงแตะเข่าขวา
จังหวะนี้เป็นท่าเตรียมยืน แต่เพื่อความสง่างามจึงมีจังหวะเคลื่อนไหวให้แนบเนียนขึ้น เมื่อใช้มือขวาแตะเข่าขวา ยืนตรงขึ้น พร้อมด้วยหมัดซ้ายยกขึ้นระดับเสมออก ประชิดเท้าซ้ายขึ้นเสมอเท้าขวา เป็นท่ายืนหันหน้าไปทางคู่ต่อสู้

จังหวะ ๔
ยกเท้าขวางอเข่าขึ้นข้างหน้าเป็นมุม ๙๐ องศา ๒ หมัดยกควงเสมอหน้ารอบหนึ่ง แล้วเหยียดหมัดยกขึ้นควงเสมอขวา ไปแตะขาขวา (ที่ยกอยู่) ลดเท้าขวาลงพื้น หมัดทั้งสองอยู่ในท่าคุม (การ์ด) สืบเท้าขวาและซ้ายตามไปสามจังหวะ จังหวะสั้น ๆ แล้วหยุด หยุดการสืบเท้าแล้ว เบี่ยงซ้ายชันเข่าซ้าย เป็นมุม ๙๐ องศา หมัดทั้ง ๒ ยกควงเสมอหน้า แล้วเหยียดแขนซ้าย แตะหมัดไปที่ขาซ้าย (ที่ยกอยู่) ลดเท้าซ้ายยันพื้นสืบเท้า ๓ จังหวะ สู่จุดเดิม ทำดังนี้จากด้านหน้า (ดังได้อธิบายแล้ว) กลับหลังแล้วยกเท้าขวาขึ้น เริ่มต้น จังหวะ ๔ อีกครั้ง เบี่ยงตัวไปทางขวา ปฏิบัติทุกอย่างเช่นเดียวกัน หากเป็นเพียง สืบเท้าไปทางด้านขวา จากด้านขวาแล้วเปลี่ยน เป็นซ้ายและหลังเป็นที่สุด ซึ่งสรุปการรำนี้ เป็นการก้าวฉาก แล้วเฉียง ไปทั้งสี่ทิศ จึงให้ชื่อว่าพรหมสี่หน้า


เทพนม
การคุกเข่าลงพับเพียบแบบนั่งทับส้นเท้าทั้งสอง ยกมือประนมระหว่างอก สลัดความนึกคิดต่างๆให้ออกไปจากอารมณ์ทั้งหมด และหากมีอารมณ์ใหม่เกิดขึ้น ก็ต้องให้เป็นความรู้สึกที่นิ่งและแน่วแน่มีสภาพคล้ายจุดกลม(พินธุ) ก้มลงกราบให้ฝ่ามือทั้งสองทาบพื้น แล้วยกกลับมาประนมอยู่ระหว่างอกดังเก่า จากนั้นเลื่อนขึ้นไปให้นิ้วหัวแม่มือที่อยู่ในท่าประนมนั้นแตะที่หน้าผาก หงายหน้าขึ้นเล็กน้อย แล้วเลื่อนลงกลับมาที่ระดับอก ก้มลงกราบอีก ท่านอบน้อมนี้กระทำ 3 หนด้วยกัน


ปฐม
การชักเท้าขวาไปด้านข้างแล้วตั้งเข่าขึ้น มือเปลี่ยนจากท่าประนมเป็นกำหมัดหลวมๆ โดยให้แขนขวาอยู่เหนือวงแขนซ้าย และพร้อมที่จะเหยียดวาดออกไปเป็นวงกลมทั้งสองข้าง

พรหม
วาดมือทั้งสองข้างโดยค่อยๆเหยียด(บิด) ออกไปด้านข้างหมุนให้เป็นวงสุดแขน อกตั้ง หลังตรง หน้าเชิด เมื่อเหยียดแขนวาดเป็นวงครบรอบ ก็ควงหมัดหมุนรอบกันและกันอยู่ที่ระดับหน้าอก 3 รอบ การเหยียดแขนวาดวงนี้จะกระทำ 3 ครั้ง จากนั้นกลับหลังเปลี่ยนทิศ โดยคุกเข่าขวาตั้งเข่าซ้าย (ท่าเหยียดแขนวาดวงแบบเดิม) เมื่อกระทำด้านหน้าและด้านหลังแล้ว ก็หันไปด้านข้าง โดยเริ่มจากทางด้านขวาก่อน การคุกเข่า-ตั้งเข่าก็กระทำแบบเดียวกับด้านหน้าและด้านหลังเมื่อครบก็จะได้ เป็น 4 ทิศ จึงเรียกท่านี้อีกอย่างหนึ่งว่า "ท่าพรหม 4 หน้า"

การควงหมัดของ"ท่าพรหม"  กับร่างยันต์ชื่อ"นะพรหม 4 หน้า"
ตามหลักอาถรรพณ์ศาสตร์ พรหม 4 หน้า คือวิชาสะกดจิตอำพรางตาในระดับหนึ่ง โดยการอำพรางตานั้น ได้แก่การสะกดจิตไม่ให้เห็นอะไรเลย หรือว่าเห็นภาพหลอน (มายา) ไปต่างๆ วิชาเหล่านี้ในพุทธตันตระแยยสยามจัดเป็นหมวยใหญ่อยู่ในวิชา "แคล้วคลาด" ท่าพรหมในการร่ายรำไหว้ครูของมวยไทย หากจะกล่าวตามมิติของตำนานแล้วฃ ก็คือการแพ่งกระแสจิตลงยันต์สำกดไว้บนพื้นเวทีของการแข่งขัน เป็นการเปิดศึกทางอาถรรพณศาสตร์ หรือสงครามจิตวิทยา กับคู่ต่อสู้นั่นเอง อย่างไรก็ตามตำนานก็คือตำนานเท่านั้น




เทพนิมิต
เป็นท่าที่ต่อจากที่พรหม ประนมมือลุกขึ้นยืนตรง เรียกว่า "เทพนิมิต"

มยุเรศ
หมัดซ้ายขวาเปลี่ยนจากการพนมมาควงหมันรอบกัน 3 รอบ พร้อมกับตั้งเท้ายกเข่าขวาวาดบิดเป็นวงมาทางขวามือ ลดหมัดขวาลงแตะโคนขาขวา ยกหมัดซ้ายหงายแตะโหนกคิ้วซ้าย จากนั้นย่ำเท้าขวาลงไปหนึ่งก้าวในทิศที่หันหน้าไปนั้น (ขวามือคือท่าเทพนิมิตเดิม) ขยับเท้าขวาไปเบื้องหน้าครึ่งก้าว แล้วขยับเท้าซ้ายตามครึ่งก้าว รวม 3 ครั้ง แล้วทิ้งนำหนักลงเท้าขวา ลดหมัดซ้ายลง พร้อมกับเหยียดแขนทั้งสองค่อยๆบิดหมุนเป็นวงไปด้านหลัง พลางยกเท้าซ้ายพับขึ้นไปด้านหลัง แขนทั้งสองวาดเป็นวงย้อนกลับมาด้านหน้าตามด้วยการควงหมัดซ้ายขวาหมุนรอบกัน อีก 3 รอบ

(นารายณ์) ขว้างจักร
เป็นท่าที่ต่อจากยูงฝ้อนหาง เมื่อควงหมัดขวาครบ 3 รอบแล้ว ก็ค่อยๆบิดไหล่หันลำตัวมาทางขวาช้าๆ หงายหมัดขวาแล้วเหยียดสูงออกไปด้านหน้า พร้อมกับจังหวะที่บิดไหล่หันลำตัวนั้น ส่วนหมัดซ้ายก็ลดจากอกลงไปแตะไว้ที่โคนขาซ้าย

กวางเกลียวหลัง
ต่อจากท่านารายณ์ขว้างจักร บิดไหล่หันลำตัวมาทางขวาอีกครั้ง เป็นการหันกลับหลังพอดี ค่อยๆ ลดเท้าซ้ายที่ยกพัยไปข้างหลังไว้อยู่ลง และเหยียดตรงไปข้างหลัง พร้อมกับหน้าเบือนหันตามไปด้วย แล้วดึงเท้าซ้ายมาเสมอกับเท้าขวา เป็นการยืนตรง หันหน้าไปทางซ้ายตามเดิม เริ่มต้นด้วยท่าเทพนิมิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งในทิศนี้เป็นทิศตรงข้ามกับทิศที่ร่ายรำครั้งแรก เมื่อร่ายรำในทิศที่สองนี้ ก่อนย่ำเท้าเขยิบไปข้างหน้า เท้าที่ยกขึ้นตั้งเข่าสำหรับทิศนี้ก็เป็นข้างขวา สำหรับอีก 2 ทิศ ซึ่งขวางติดกับทิศทั้งสองข้างต้น ลำดัยท่าร่ายรำก็จะซ้ำกับสองทิศแรก เมื่อรำร่ายยูงฟ้อนหาง นารายณ์ขว้างจักร และพยัคฆ์ด้อมกวาง(หรือ หวางเหลียวหลัง) ครบทั้ง 4 ทิศแล้ว ก็จะกลับคืนสู่ท่าเทพนิมิตอีกครั้ง






มารยาทมวยไทย

๑. เคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัด
๒. มีความขยันหมั่นเพียร
๓. พร่ำบ่นมนต์คาถาต่าง ๆ ที่ครูประสาทให้
๔. ไม่ดูถูกฝีมือนักมวยรุ่นพี่
๕. เคารพในเครื่องรางของขลัง
๖. ไม่นำเอาวิชามวยไปรังแกผู้อื่น นอกจากป้องกันตัวเท่านั้น
๗. ไม่โอ้อวดความสามารถ
๘. หลีกเลี่ยงของมึนเมาต่าง ๆ
๙. เข้าร่วมในพิธีการยกครูทุกครั้ง
๑๐. ให้ความเคารพในครูมวยคณะอื่น ๆ ด้วย

ร่ายรำท่าไหว้ครู

ร่ายรำท่าไหว้ครู

ท่าไหว้ครู มวยลพบุรี




การร่ายรำท่าหงษ์เหิร 
หลังจากการไหว้ครูในท่านั่งตามลำดับจนกระทั่วลุกขึ้นยืนในท่าเทพนิมิตร และหมุนไปทางขวา

จังหวะที่ ๑    ยกเท้าขวาเหยียดไปด้านหลัง โดยยืนทรงตัวด้วยเท้าซ้าย โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยร่ายรำโดยกางแขนทั้งสองออกด้านข้างสุดแขน ยอเข่าลงพร้อมกับคว่ำฝ่ามือทั้งสอง

จังหวะที่ ๒    ยืดเข่าให้ตรงพร้อมกับงอข้อมือขึ้นให้ปลายนิ้วเชิดขึ้น

จังหวะที่ ๓    ลดเท้าขวาลงยืนกับพื้น แล้วเปลี่ยนเป็นเหยียดเท้าซ้ายไปข้างหลังร่ายรำเช่นเดียวกันลักษณะคล้ายนก กำลังบิน การเคลื่อนตัว แขน และฝ่ามือให้สัมพันธ์กันและเข้ากับจังหวะดนตรี

 จังหวะที่ ๔    ลดเท้าซ้ายลงยืนตรงย่างสามขุมเพื่อเปลี่ยนทิศทาง โดยหมุนตัวกลับหลังหันมาทางทิศเบื้องซ้ายแล้ว ให้ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ๑ ก้าว โน้มตัวลงไหว้ พระพรหมทิศ เบื้องซ้าย ๑ ครั้ง แล้วร่ายรำท่าหงษ์เหิรตามจังหวะที่ ๑-๓ พอถึงจังหวะที่๔ ให้เปลี่ยนไปทางทิศเบื้องหลัง ไหว้พรหมแล้วร่ายรำ พอถึงจังหวะที่ ๔ ให้เปลี่ยนไปทิศเบื้องหน้า (ซึ่งเป็นทิศเมื่อนั่งพนมมือ "ท่าเทพพนม" ) แล้วไหว้พรหม ร่ายรำท่าหงษ์เหิรเท่ากับร่ายรำ ครบสี่ทิศ (พรหมสี่หน้า) ย่างสามขุมแล้วโค้งให้คู่ต่อสู้ ๑ ครั้งเป็นการจบการไหว้ครูและร่ายรำท่าหงษ์เหิร.

หงษ์เหิร

การร่ายรำท่ายูงฟ้อนหาง 
ก่อนการร่ายรำท่ายูงฟ้อนหางก็ตามจะ เริ่มต้นจากการไหว้ ครูตั้งแต่ท่านั่ง เทพพนมตามลำดับ จนถึงท่ายืนเทพนิมิตรแล้ว

จังหวะที่๑    หมุนตัวไปทางทิศเบื้องขวาไหว้พระพรหม
ทิศเบื้องขวา ๑ ครั้ง

จังหวะที่๒   ก้าวเท้าซ้าย ไปข้างหน้า ๑
ก้าว ยกขาขวาเหยียดไปทาด้านหลัง พรัอม โน้มตัวลงมาทางด้านหน้า มือทั้งสองพนมอยู่ระดับอก

จังหวะที่ ๓   บิดฝ่ามือหันหลังมือเข้าหากันแล้วค่อยๆ
เคลื่อนแขนทั้งสอง ลอดผ่านใต้รักแร้ ไปทางด้านหลัง จนแขนเหยียดตรงปลายนิ้วมือจดกัน

จังหวะที่๔   เคลื่อนมือทั้งสองออกไปด้านข้างลักษณะ กางแขนแล้วโค้งเข้าหากันที่หน้าพร้อม
กับยืดอกเงยหน้าขึ้นขณะที่มือทั้งสองยก จดกันที่เหนือศีรษะขาขวา ยังคงเหยียด ไปทางด้านหลังเช่นเดิม

จังหวะที่๕   ลดขาขวาลงยืนตรง ยกเท้าซัายเหยียดไปทางด้านหลัง ยืนทรงตัวด้วยเทัาขวา แส้วปฎิบัติ เช่นเดียวกับจังหวะที่ ๑ -๔ (เป็นการทำสลับข้างจากขวาเป็นซ้าย) หลังจากนั้นให้เปลี่ยนทิศร่ายรำให้ครบ สี่ทิศ แล้วกลับเข้ามุมด้วยการก้าวย่าง และโค้งคำนับคู่ต่อสู้ เป็นจบกระบวนท่า .

ยูงฟ้อนหาง

การร่ายรำท่ายูงรำแพน 
ก่อนการร่ายรำท่ายูงรำแพน ให้เริมต้นการไหว้ครูตังแต่ท่านั่งเทพพนม ตามลำดับเช่นเดียว ท่าอื่นๆ จนลุกขึ้นยืนท่าเทพนิมิตร

จังหวะที่๑     หมุนตัวไปทิศเบื้องขวาไหวัพระพรหม ๑ ครั้ง

จังหวะที่๒    ก้าวเท้าซ้ายใปขัางหน้าก้าว ยกขาขวาเหยียดไปทางด้านหลัง  พร้อมกับโน้มตัวลงมาทางด้านหน้า มือทั้งสองพนม อยู่ระดับอก

จังหวะที่ ๓    บิดฝ่ามือหันหลังมือเข้าหากันแล้วค่อยๆเคลื่อนแขนทั้งสองลอดผ่าน ใต้รักแร้ไปทางด้านหลัง จนแขนเหยียดตรง หน้าเงยมองดรงไปด้านหน้า

จังหวะที่ ๔   เคลื่อนมือทั้งสองออกไปด้านข้างลักษณะ กางแขนแลัวโคังเข้าหา กันด้านหน้าควงแขน ๓ รอบ

จังหวะที่ ๕   เคลื่อนขาขวามาตั้งฉากด้านหน้าหมุนเฉียง ขวาเท้าขวาสูงพื้นห่าง ๑ ก้าว

จังหวะที่ ๖   ยกเท้าซ้ายเหยียดไปทางด้านหลัง ยืนทรงตัวด้วยเท้าขวา แล้วปฏิบัติ เดียวกับจังหวะที่ ๑ - ๔ หลังจากนั้นไห้เปลี่ยนทิศร่ายรำให้ครบ สี่ทิศ แล้วกลับเขามุมด้วยการก้าวย่าง และโค้ง นับคู่ต่อสู้ เป็นจบกระบวนท่า.
 



ยูงรำแพน


การร่ายรำสอดสร้อยมาลา 
ก่อนการร่ายรำท่าสอดสร้อยมาลาให้เริ่มต้นการไหวัครูตังแต่ท่านั่งเทพพนม จนลุกขึ้นยืนท่าเทพนิมิตร

จังหวะที่ ๑    หมุนตัวไปทิศเบื้องขวาไหว้พระพรหมทิศเบื้องขวา ๑ ครั้ง

จังหวะที่ ๒    ก้าวเท้าซ้ายใปขัางหน้า ๑ ก้าว ยกขาขวาไปทางด้านหลังที่งอขนานกับพื้นยกสูงระดับปลายคาง แขนซ้ายงอตั้งฉากกับพื้นปลายหมัตตั้งขึ้น

จังหวะที่ ๓    สอดหมัดซ้ายขึ้นด้านในแขนขวา ใหัเลยขึ้นไปขัางบนจนศอกแขนขวาที่วางขนานระดับปลายคาง

จังหวะที่ ๔    เปลี่ยนจากแขนขวาวางขนานกับพื้นมาเป็นแขนซ้ายรำสอด แขน

จังหวะที่ ๕    เปลี่ยนจากการยืนด้วยเท้าซ้าย มาเป็นยืนทรงตัวด้วยเท้าขวา เช่นเดียวกับจังหวะที่ ๒ - ๔

จังหวะที่ ๖    ให้เปลี่ยนทิศไปร่ายรำในทิศต่างๆ ให้ครบสี่ทิศ แล้วกลับเข้า ก้าวย่าง และโค้งคำนับให้คู่ต่อสู้ เป็นจบกระบวนท่า.
 
สอดสร้อยมาลา

การร่ายรำท่าพระรามแผลงศร 
เป็นการร่ายรำที่สวยงามท่าหนึ่งที่เป็นท่ายืน ก่อนการร่ายรำท่าพระรามแผลงศร ใหัเริ่มต้นการไหว้ครู ตั้งแต่ท่านั่งเทพพนม ตามลำดับจนถึงท่าเทพนิมิตร ท่าพระรามแผลงศรมักจะ นิยมร่ายรำเพียงทิศเดียว คือหันหน้าไปทางทิศของคู่ต่อสู้

จังหวะที่ ๑    หมุนตัวไปทิศเบื้องขวาไหว้พระพรหมทิศ เบี้องขวา ๑ ครั้ง

จังหวะที่ ๒   ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ๑ ก้าว พร้อม กับชูแขนทั้งสองข้างในลักษณะคล้ายจับคันศร ด้วยมือซ้าย

จังหวะที่ ๓   มือขวาเอื้อมมาด้านหลังทำท่าลักษณะ หยิบลูกศรบริเวณต้นคอ มาพาดคันศร แล้วน้าวสาย ศรมาด้านหลัง ๒ - ๓ ครั้ง ทำท่าน้าวศรครั้งที่ไม่ ปล่อยศร ค่อยๆ เลื่อนมือขวา ตามมแรงดึงของคัน ศรน้าวศรครั้งที่ ๒ ก็ไม่ปล่อยศร พอน้าวศรครั้งที่๓  ทำลักษณะยกคันศรสูง ระดับหูตัวยืนนิ่งสายตามอง เล็งไปที่เป้าหมายแล้วปล่อยศรโดยบิดมือขวาขึ้น

จังหวะที่๔    เมื่อปล่อยลูกศรออกไปแล้วเท้าขวา ลงพื้น แล้วยกขาซ้ายงอขึ้นด้านหน้า พรัอมกับ ทำท่ายกมีอเหนือหน้าผาก ตามองตามลูกศรไปคล้าย
กับดูว่าลูกศรจะถูกที่หมายหรือ ไม่หากไม่ถูกให้ส่าย หน้าถ้าถูกให้ผงกศีรษะ สีหน้าแสดงความยินดี

จังหวะที่๕   ให้เสกคาถา เช่น นะจังงัง ๓ จบ และใชัเท้ากระทืบพื้น ๓ ครั้ง

จังหวะที่๖    ย่างสามขุมเข้ามุมของตนแล้วโค้งคำนับให้คู่ต่อสู้  ๑ ครั้ง เป็นจบกระบวนท่า.


พระรามแผลงศร

การร่ายรำท่าพยัคฆ์ด้อมกวาง 
ก่อนการร่ายรำท่าพยัคฆ์ด้อมกวาง ให้เริ่มต้นการใหว้ครูตั้งแต่ท่านั่งเทพพนมตามลำ เช่นเดียวกับท่าอื่นๆ จนถึงลุกขื้นยืนท่าเทพนิมิตร

จังหวะที่ ๑    หมุนตัวไปทิศเบื้องขวาไหว้พระพรหมทิศเบื้องขวา ๑ ครั้ง

จังหวะที่ ๒    จากการก้าวย่างขณะที่เท้าซ้ายนำ  ให้โน้มตัวไปด้านหนัาเล็กน้อยมือซ้าย กำหมัดตั้งศอกขึ้นบังทางด้านหน้า พร้อมกับหันหน้ากลับมามองทางด้านหลัง คือมองคู่ต่อสู้ แขนขวาและเท้าขวาอยู่ด้านหลัง พยักหน้าให้คู่ต่อสู้๑ ครั้งหรือ ๒ ครั้ง

จังหวะที่ ๓    เปลี่ยนมาเป็นการก้าวโดยใช้เท้าขวานำ และทำเช่นเดียวกับจังหวะที่ ๒

จังหวะที่ ๔    ให้เปลี่ยนทิศใปร่ายรำในทิศต่างๆ ให้ครบสี่ทิศ แล้วกลับเข้ามุมด้วยก้าวย่างและโค้งคำนับให้คู่ต่อสู้ เป็นจบกระบวนท่า การร่ายรำท่าพยัคฆ์ด้อมกวางนี้ จะมีลีลาท่าทางการร่ายรำคล้ายกับท่ากวางเหลียวหลัง.
พยัคฆ์ด้อมกวาง


การร่ายรำท่าเสือลากหาง 
 การร่ายรำท่าเสือลากหางมีทั้งท่านั่งและท่ายืน ให้เริ่มต้นการไหว้ครูตั้งแต่ท่านั่งเทพพนม ถวายบังคม ท่าปฐมและท่าพรหมตามลำดับเช่นเดียวกับท่าอื่นๆท่านั่ง 
ท่านั่ง 
จังหวะที่ ๑  ขณะนั่งอยู่ในท่าพรหม  คือเท้าซ้ายตั้งฉากกับพื้น เท้าขวาเหยียดตรงใป ด้านหลัง ปลายนิ้วเท้าจรดพื้นโน้มตัวไปด้านหน้าให้มากมือทั้งสอง ควงหมัด แล้วงอแขนตั้งฉาก ชูปลายทือขึ้นขยับแขนขึ้นลงสลับซ้ายขวาตลอดเวลา แล้วเคลื่อนแขนกางออกด้านข้างขยับขึ้นลง ไม่มากใบหน้าส่ายไปมา พร้อมกับขยับตัวขึ้นลง ให้สัมพันธ์กัน โดยน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซัายและ ปลายเท้าขวายันพื้นช่วย ในการทรงตัวและการขยับตัวตามจังหวะดนตรี
จังหวะที่ ๒ ถอยตัวกลับไปนั่งบนส้นเท้าซัาย เท้าขวาเหยียดอยู่ดัานหน้ามือทั้งสอง ขยับขี้นลงเช่นเดียวกับจังหวะที่ ๑ อาจจะเปลี่ยนสลับเท้าขวาเป็นซ้ายก็ได้. 
ท่ายืน 
จากท่านั่งของเสือลากหางอาจใช้เท้าข้างใดข้างหนื่งเป็นหลักทรงตัวลุกขึ้นยืน 
 
จังหวะที่ ๑  ยืนทรงตัวด้วยเท้าขวาเท้าซ้ายยกงอไปทางด้านหลัง  ปลายเท้าเชิดพร้อมกับ โน้มตัวมาทางด้านหน้า  แขนทั้งสองข้างตั้งฉากยกปลายมือขึ้นขยับขื้นลงเช่นเดียวกับท่านั่ง คือ ขยับพร้อมกันทั้งแขน ลำตัว และปลายเท้าใบหน้าส่ายไปมาคล้ายหลอกล่อคู่ต่อสู้.