Sunday, June 2, 2013

วิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับกีฬามวยไทยของผู้ฝึกสอนกีฬา

วิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับกีฬามวยไทยของผู้ฝึกสอนกีฬา
http://sportscience.dpe.go.th/web/main/images/box_1.gif
     ในอดีตที่ผ่านมาการได้มาซึ่งนักมวยไทยที่มีความสามารถ มีกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรูและถ่ายทอดกันมา โดยไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาสนับสนุนมากนัก นักกีฬาหลายๆ คนยังวิ่งทุกวัน และนานๆ อาหารที่ทานก็ยังมีคุณภาพ ปริมาณและมีช่วงเวลาของการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ท่านในฐานะของผู้ที่มีอิทธิพลสูงมากกับพัฒนาการของนักมวยไทย มีความเข้าใจและได้นำหลักการนี้ไปใช้กันมากน้อยแค่ไหนหรือยัง

     เมื่อท่านคือผู้ที่กำหนดแผนการฝึกซ้อมที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของนักกีฬามวยไทย เข้าใจวิทยาศาสตร์การกีฬาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกีฬาทุกชนิด รวมทั้งมวยไทยที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากด้วย มีชาวต่างชาติหายชาติที่ให้ความสนใจและฝึกซ้อมเพื่อความเป็นเลิศทางกีฬามวยไทย และด้วยการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ โอกาสที่เขาจะนำและแซงเราคนไทยมีสูง ผู้ฝึกสอนมวยไทยจึงควรเข้าใจแลรับเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาไปพัฒนานักกีฬาอย่างเป็นระบบต่อไป

     หลักการย่อยที่เป็นหลักการที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัย ที่เป็นวิทยาศาสตร์นี้มี หลายด้าน ได้แก่ ด้านสรีรวิทยาการกีฬา โภชนาการศาสตร์การกีฬา จิตวิทยาการกีฬา ชีวกลศาสตร์การกีฬา และเวชศาสตร์การกีฬา ในแต่ละด้านของหลักการย่อยที่อยากให้ท่านได้ทราบเพื่อให้การเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬามวยไทยเพื่อการแข่งขันสามารถบรรลุเป้าหมายของการเล่น  เริ่มตั้งแต่ สรีรวิทยาการกีฬา เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายในการใช้พลังงาน ต่อการทำงานของร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การฝึกร่างกาย การฝึกในที่สูง ในอากาศร้อน เย็น การฝึกร่างกายเพื่อความพร้อมในการนำไปใช้ในการเล่นกีฬาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น ขณะที่หลักการด้านโภชนาการศาสตร์การกีฬา เป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอาหารกับกีฬา ไม่ว่าจะเป็นอาหารก่อน ระหว่าง และหลังการเล่นกีฬา อาหารเสริม อาหารไทยกับอาหารต่างชาติ ปริมาณและความถี่ของการกินอาหาร รวมทั้งเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬามวยไทย เป็นต้น สำหรับหลักการย่อยที่ 3 คือเรื่องของจิตวิทยาการกีฬา ซึ่งเป็นเรื่องของจิตใจต่อการเล่น การฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬา จิตใจก่อน ระหว่างและภายหลังการเล่นกีฬา ฝึกมวยไทยให้สนุกทำอย่างไร เจตคติในการเล่นกีฬา ความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการเล่นกีฬา สมาธิ ระเบียบวินัยในการเป็นนักกีฬา ความเครียด ความวิตกกังวล ความกลัว ความตื่นเต้นกับการเล่นกีฬา การจัดการกับความเครียด ล้วนเป็นองค์ประกอบที่ส่งเสริมให้องค์ประกอบของความสำเร็จในการเป็นนักมวยไทยมีมากขึ้น เป็นต้น ด้านชีวกลศาสตร์การกีฬา เป็นส่วนย่อยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการทำงานของร่างกาย น้ำหนักของร่างกาย แรง และความเร็วในการเพิ่มศักยภาพการเล่นมวยไทย การถ่ายโอนน้ำหนักของร่างกาย และทิศทางของแรง ที่อาศัยองค์ความรู้ทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์เป็นหลัก และประเด็กย่อยสุดท้ายคือ ด้านเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นสาขาย่อยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยที่มีผลจากการเล่นมวยไทยมีมากมายและตลอดเวลา โดยจะกล่าวถึงประเด็น ของสาเหตุของการบาดเจ็บ บริเวณที่บาดเจ็บ อาการ การป้องกัน ยาที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะในการอบอุ่นร่างกายและการเหยียดยืดกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อ ในการเล่นมวยไทย

     หวังว่าท่านจะเข้าใจและรับหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬาไปช่วยนักกีฬาของท่าน ให้บรรลุเป้าหมายของความสำเร็จในการชกมวยไทย ดังนั้นหากท่านเป็นผู้ฝึกสอนนักมวยไทย ท่านจึงควรทำความเข้าใจกับวิทยาศาสตร์การกีฬา ว่าเป็นเรื่องของอะไร วิทยาศาสตร์การกีฬามีส่วนช่วยพัฒนานักกีฬาของเราอย่างไร ส่วนรายละเอียดในแต่ละด้านของสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่มีพัฒนาการอย่างไม่หยุดนิ่ง สามารถหาราย ละเอียดได้ต่อไป ที่จะค่อยๆ ทยอยให้ความรู้ต่อๆไป นอกจากเวปไซต์ของสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬานี้แล้ว ท่านยังสามารถหาข้อมูลในรายละเอียดนี้ได้อีกหลายแนวทาง รวมทั้งการติดต่อสถาบัน การศึกษาที่ให้บริการทางวิชาการด้านนี้ด้วย

ขำขำมวยไทย

ขำขำมวยไทย

เป็นการชกโชว์ครับ ของอดีตนักมวยแชมป์ รุ่นฟายเวต ต่อยจริง เจ็บจริง แต่ต่อยโชว์ เหมือนมวยปล้ำต่างประเทศเลย เหอะๆ เลือดออกจริง