ความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง มวยไทย

.
มีข้อที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับ ความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง มวยไทย อยู่หลายประการ คือ
๑.การ ไหว้ครู ของมวยไทย..เป็นวิธีการอันแยบยล ที่ครูมวยแต่ละสาย กำหนดขึ้น เพื่อการประสมกาย+จิต+มวยไทย..ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน..ซึ่งดีกว่า(และไม่ใช่) การวอร์มอัพ..แต่หากจะนำมาใช้เป็น วิธีการสร้างสุขภาพด้วย..จำต้องให้ ผู้รู้ ช่วยกัน วิเคราะห์+สังเคราะห์ ให้สามารถก่อเกิดสมรรถนะเต็มศักยภาพ ของผู้ปฏิบัติ (โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย)..
๒.การเคลื่อนไหวกายด้วยท่าทางของมวยไทยแต่ละอย่าง มีกุญแจสู่สภาวะจิตไม่เหมือนกัน..
๓.ความ ศรัทธา คือหลักการสำคัญของการใช้ท่าทางและการเคลื่อนไหวเพื่อไขกุญแจสู่สภาวะจิตที่ ถูกต้อง..ซึ่งยังไม่อาจบัญญัติให้แน่นอน เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ทุกครั้ง..
๔.การ ฝึกทุกอย่าง มีช้า มีเร็ว ความช้าก็เกิดประสิทธิภาพ แบบหนึ่ง..ความเร็วก็เกิดประสิทธิภาพ อีกแบบหนึ่ง..การประสมประสาน กาย จิต ให้เข้ากับจังหวะช้า เร็ว ของท่าแม่ไม้มวยไทย เป็นเรื่องอัศจรรย์..ที่เคยลองดู จะเป็นเฉพาะบางท่า ที่เกิดความเข้ากันได้..ยิ่งการเปลี่ยนท่าแม่ไม้..ยิ่งจะต้องหาการต่อเชื่อม ระหว่างท่า กับ การเคลื่อนไหว (คล้ายๆกับ ลักษณะการเดินจงกลม)..หากเกิดการสะดุด..จะเกิดภาวะอึดอัด ติดขัด(เสียดลม เจ็บตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ)..ที่แปลกมาก คือ เมื่อฝึกแบบนี้..แล้วกลับไป ฝึกนั่งสมาธิอย่างที่เคยนั่ง (สมถกรรมฐาน)..ทำไมรู้สึกว่า ยากที่จะสงบนิ่งเหมือนเดิม..
๕. ท่าต่างๆของมวยไทย มันมีมากมายเพราะ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบมวยไทย มันยังมีชีวิตอยู่..ยังไม่ตาย..จึงย่อมมีการเกิดของท่าต่างๆอยู่เสมอ..บาง ท่า ก็มีผู้คิดค้นขึ้นใหม่..บางท่าก็เป็นการประยุกต์จากท่าแม่ไม้,ลูก ไม้ของเก่า..การจะรวบรวมนำเข้ามาสู่การฝึกเพื่อบริหารกายจิต จึงจำต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถรวบรวมภูมิปัญญาของมวยไทยให้ต่อเนื่อง
legendmuaythai02.jpg

มีคำถามว่า พหุยุทธ์มวยไทย แตกต่างจาก มวยไทยไชยา อย่างไร?
..พหุ ยุทธ์มวยไทย ต้องการให้เป็น ศิลปศาสตร์แห่งการเอาชนะตนเอง ในการสร้างสุขภาวะสำหรับคนไทย (การบริหารกายและจิต) ซึ่งใช้การเคลื่อนไหวเพื่อการประสมประสาน ร่างกาย+จิตใจ+ท่าไหว้ครูและท่ารำมวยไทย..ทำให้เกิด ความเข้มแข็งและปลูกฝังจิตสำนึกไทย ให้คนไทยสามารถรักษาตนเองและรักษาชาติไทย..ส่วน มวยไทยไชยา เป็นศิลปะศาสตร์การต่อสู้ป้องกันตัว ที่พัฒนารูปแบบขึ้นโดยพ่อท่านมา แห่งเมืองไชยา ซึ่งว่ากันว่าท่านเคยเป็นถึง ขุนศึกจากพระนคร ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยอาจเป็นต้นทาง ของ มวยไทยสายใต้ เมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว.. (หรืออาจแตกแขนงจากมวยไทยสายใต้ เนื่องจาก เมืองสงขลา เมืองพัทลุง และเมืองนครศรีธรรมราช มีการตั้งถิ่นฐานของคนไทย มานานและมีท่าต่อสู้ที่ใช้การ ฉัด ปล้ำ ฟัด ทุ่ม ทับ จับ หัก เช่นเดียวกับ มวยไชยา )


มีความเข้าใจผิดเรื่อง มวยไทย ว่า เป็นกีฬาที่ส่งเสริมความรุนแรงและมีอันตรายมาก ?
...ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจ คำ สองคำ คือ กีฬา และ มวย.." กีฬา(sports)" เป็นส่วนย่อยของ เกมส์(games)..เป็น การละเล่น ออกกำลังกาย ที่มุ่งส่งเสริม สุขภาพทางกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยมีกฏ กติกา ข้อกำหนดชัดเจน ..มี ๒ ลักษณะ คือ การเล่นกีฬา และการแข่งขันกีฬา ในเมืองไทย เราแยกเป็น กีฬาพื้นบ้าน กีฬาไทย กีฬาสากล..และแบ่งเป็น กีฬาในร่ม กับ กีฬากลางแจ้ง หรือ กีฬาที่มีการปะทะตัวกัน กับ กีฬาที่ไม่ปะทะตัวกัน ..ส่วน" มวย "..เป็น กีฬาชนิดหนึ่งที่มีการปะทะตัวกัน ..อันนี้ มีหลายมวย เช่น มวยสากล(Inter boxing) มวยไทย(Muaythai) มวยปล้ำ(Wrestling)..ซึ่ง แต่ละอย่างก็มี กฏ กติกา ไม่เหมือนกัน..การเล่นกีฬา มีจุดประสงค์ให้เกิดสุขภาพ กาย ใจ อารมณ์ สังคมที่ดี..และในการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น ก็มีจุดประสงค์ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโทษร้ายแรง..แต่ ด้วยกิเลศของมนุษย์..ก็อาจทำให้เกิดความไม่ดีไม่งามขึ้นในลักษณะต่างๆ..เค้า เรียกว่า ยังไม่พัฒนาครับ..ซึ่งปัจจุบันนี้ คนไทย และชาวต่างชาติ ส่วนใหญ่ ยังมีมุมมองเฉพาะความน่ากลัว ของ มวยไทย จึงทำให้ มวยไทยแพร่หลายในวงแคบๆ..โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีคิด วิธีจัดการแข่งขันที่ลอกเลียนแบบจาก ชาวตะวันตก ที่มุ่งหวังกำไรจากการทำธุรกิจการต่อสู้ด้วยการแอบอิงการขาย และการตลาด จากลักษณะการต่อสู้ของแต่ละชนชาติ ที่มีความแปลกแตกต่างกัน..จึงยิ่งทำให้สร้างภาพความรุนแรงของกีฬามวยยิ่ง ขึ้น..อันนี้เป็นการทำลายคุณค่าของ ความเป็นมนุษย์ ที่ร้ายแรง อย่างที่สุด..
มีผู้หญิงไทย บางคน ถามว่า มวยไทย เหมาะกับ ผู้หญิง มั้ย?
..ผมเลยช่วยตอบกลับไปว่า.. “ อีหนูเอ๋ย..ลุงว่า มวยไทย เป็นวิชาความรู้ภูมิปัญญาของคนไทยนะ..หนูเป็นคนไทย ต้องเรียนของไทยก่อนเหอะ..เหมือนที่หนูพูด อ่าน เขียนไทย ก่อนที่จะเรียนพูดอ่านเขียนอังกฤษ..และถ้าหนูเข้าใจ เข้าถึง มวยไทย หละก็..ไอ้วิชาต่อสู้ป้องกันตัวอื่นนะแค่ จิ๊บ จิ๊บ จร้า..และฟามจิง การฝึกมวยไทยไม่ได้หนักหนาสาหัส รึ เจ็บปวดอันใด ดอกนะ..ฝึกไหว้ครู ฝึกรำมวย ฝึกชกลม เล่นเชิง เนี่ย มันง่ายฝ่าฝึกแดนซ์เป็นไหนๆ..ถ้านู๋อยากฝึกละก็เด๋ว ลุง จัดให้..”
...เมื่อก่อนผมไม่ค่อยเข้าใจ มวยไทย มากนัก แม้ว่า จะเคยฝึก มวยไทย และ กระบี่ กระบอง มาจากหลายครู ทั้งแบบโดยตรง และโดยอ้อม (อาทิ คุณพ่อเขียน ชัยกูล, คุณครูครื้น อรัญดร, คุณครูขุนเหี้ยม ลูกเพชรเกษม, คุณครูแสวง ศิริไปล์, คุณครูวิชิต ชี้เชิญ, คุณครูพินิจ ประหยัดทรัพย์, คุณครูสงวน มีระหงษ์,คุณครูจรวย แก่นวงษ์คำ ฯลฯ ) ตลอดจนจาก ประสบการณ์การชกบนเวที (เวทีมวยสมัครเล่นและ เวทีภูธร ไม่กี่ครั้ง..)
....จนเมื่อได้ ศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม จาก การเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว อื่นๆ อีกหลายแขนง อาทิ มวยสากล จาก ครูนอง เสียงหล่อ , ครูสืบ จุณฑะเกาศลย์, ครูลือชา สุบรรณพงศ์, ยูโด และ ไอกิโด จาก ครูปรีชา ตันจริยานนท์ และการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่รักและสนใจมวยไทย และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวหลายท่าน ตลอดจนจากการติดตามศึกษาจาก การชกมวยไทยเวที ในช่วง สามสิบกว่าปี มานี้..และเมื่อได้ลองรวบรวม ท่าการฝึก แม่ไม้มวยไทย ต่างๆ เพื่อจัดทำเป็น แบบฝึกพหุยุทธ์มวยไทย สำหรับการสร้างสุขภาพ โดยมีความคาดหวังว่า เราคนไทย ควรจะมีท่ารำมวยไทย ไว้สร้างเสริมสุขภาพ มากกว่า มวยไท้เก๊ก หรือ มวยหย่งชุน/หวิงชุน กังฟู หรือ โยคะ ก็รู้สึกเกิดความประหลาดใจ ในการเปลี่ยนแปลงในตนเอง หลายอย่าง....ซึ่งเมื่อนำไปเทียบเคียงกับ หลายท่าน แล้วเกิดความอัศจรรย์ใจ ใน ฤทธิ์เดชของ มวยไทย..เพราะ เมื่อเราฝึกมวยไทยแล้ว..กลับกลายเป็นว่า เราเองกลับถูก มวยไทย ควบคุมไว้...
....อันนี้ นับว่า เป็นมหัศจรรย์ของมวยไทย..ได้หรือไม่?
พหุยุทธ์มวยไทย
จิตวิญญาณ มวยไทย (Soul of Muay Thai Martial Arts)
จิตวิญญาณมวยไทย ที่ผมได้ศึกษาเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มา คือ ความสง่างาม Smartness , ความแข็งแกร่ง Strength , ความเรียบง่ายSimplicity และ ความมีไมตรีจิต Smiling ครับ..
แต่ สิ่งที่เป็น จิตวิญญาณมวยไทย ที่สามารถรับรู้ได้ชัดเจนที่สุดว่า นักมวยไทย คนนั้นเข้าถึงมวยไทยได้จริงหรือไม่? คือ ความสง่างาม ความร่าเริง และ ความเป็นมิตรซึ่งจะเห็นได้จาก บัวขาว ป.ประมุข นั่นเอง
ขั้นตอนและการฝึกศิลปะพหุยุทธ์มวยไทย
1.การฝึกซ้อมที่เน้นการเสริมสร้างพื้นฐานของร่างกาย,การเคลื่อนที่ เคลื่อนไหว,การหายใจ
2.การฝึกซ้อมที่เน้นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจ,ความเข้าใจตน,ความเบิกบาน,ความมีไมตรีจิต
3.การฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้มวยไทย ได้แก่
- ท่าไหว้ครู
- ท่ารำมวย
- ชกลม เล่นเชิง
- แม่ไม้-ลูกไม้
- ลูกรับ-ลูกโต้
- ลูกกัน-ลูกแก้
- ไม้เด็ด-ไม้ตาย
4.รูปแบบการฝึก ได้แก่
การฝึกคนเดียว,ฝึกกับอุปกรณ์,ฝึกกับคู่ซ้อม,การประลอง,การแข่งขัน,การต่อสู้กับตนเอง
5.กายคตานุสติมวยไทย คือ
การประสมประสาน ร่างกาย จิตวิญญาณ และพหุยุทธ์มวยไทย ให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การฝึกกระบวนท่า พหุยุทธ์มวยไทย
๑.ขั้น เตรียมตัวเตรียมใจ ประกอบด้วย ชุดแต่งกาย,สถานที่-อุปกรณ์,เวลา,อารมณ์ และควรมีการนวดถูตัว แบบ๘๔,๐๐๐ขันธ์ด้วยน้ำมันว่านก่อน ฯลฯ
๒.ขั้นประกอบอิริยาบถ ประกอบด้วย มนตร์บริกรรม,ท่าอัญเชิญเทวดา,ท่าสะกดทัพ,ท่าเทพพนม,ท่าปฐม ท่าเปิด-ปิด
บัวบาน ,ท่าคชกราน ,ท่าเสือลากหาง,ท่าลดล่อ ฯลฯ
๓.ขั้นฐาน ธาตุ ๔ ประกอบด้วย ท่านั่งสำรวม,กอบพสุธา,นาคาพ่นน้ำ,เบิกประตูลมซ้าย-ขวา,
ท่าคันฉ่องส่องทางฯลฯ
๔.ขั้นสักการะ ประกอบด้วย ท่าอัญเชิญ ท่ากราบเบญจางคประดิษฐ์ ท่าถวายบังคม ท่าขึ้นพรหมฯลฯ
๕.ขั้น ประชุมพล ประกอบด้วย ท่ากากบาท ท่ายักษ์ ท่าลิง ท่าเสือลากหาง ท่าหงส์เหิร ท่ายูงรำแพน ท่าพยัคฆ์ด้อมกวาง ท่าฤาษีส่องกล้อง ท่าย่างสามขุม ท่าตั้งศอก ต่อศอก ท่าพันหมัดพันมือ ท่าสอดสร้อย ท่าสาวไหม ท่าปั้นลม ท่าลับหอกโมกขศักดิ์ ท่ากวางเหลียวหลัง ท่าน้าวศร ท่าแผลงศร ท่าจักรนารายณ์ ท่าบังสูรย์ ท่าปักลูกทอย ท่ากรายทวน ๘ ทิศ ท่าอาชาสุขเกษม ท่าสอดสร้อย ท่าเมฆขลาล่อแก้ว ท่าหนุมานแหวกเมฆ ท่าแม่ธรณีบีบมวยผม ฯลฯ
๖.ขั้นมหิทธานุภาพ ประกอบด้วย ท่าเหวี่ยงควาย ท่าหนุมานถวายแหวน ท่าตาเถรค้ำฟัก ท่าทะแยค้ำเสา
ท่าบาทาลูบพักตร์ ท่ามอญยันหลัก ท่าเถรกวาดลาน ท่าทัดมาลา ท่าพุ่งหอก ท่าเหน็บกริช ท่าญวนทอดแห ท่าไกรสรข้ามห้วย ฯลฯ
๗.ขั้นสัมฤทธิ ประกอบด้วย ท่าบั่นเศียรทศกรรฐ์ ท่าจระเข้ฟาดหาง ท่ากงล้อนารายณ์ ท่าม้าดีดกระโหลก
ท่าหนุมานทะยานชล ท่าฤาษีบดยา ท่าช้างประสานงา....
หมายเหตุ
1. การฝึกนี้บ้างก็เป็นลำดับตามขั้น บ้างก็ประสมประสานไปตามจังหวะกาย+จิต
2. ควรใช้กำลังที่กลมกลืนพอเหมาะที่มีทั้งช้า เร็ว เบา หนัก
3. สิ่งที่สำคัญ คือ การกำหนดเป้าหมาย ที่ผนวกการจัดท่าป้องกันพร้อมไปกับการโจมตีให้ชัดเจน
4. เมื่อเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ควรค่อยๆเพิ่มอุปกรณ์น้ำหนักที่พอเหมาะเพื่อให้ร่างกายพัฒนาไปสู่
ภาวะกลมกลืนแต่แข็งแกร่ง
5. การ กำหนดขั้นตอน และการตั้งชื่อเหล่านี้ ผมกำหนดขึ้นเอง เพื่อการแยกหมวดหมู่ ตามคุณลักษณะของระดับประสิทธิภาพของท่าต่างๆ และ ชื่อท่า บางท่าอาจไม่ต้องตรงกันกับที่แต่ละปรมาจารย์ได้กำหนดไว้เดิมเนื่องจากแต่ละ ท่าน มีเคล็ดวิชาสำคัญประกอบอยู่ในชื่อท่า ไม่เหมือนกัน แต่หากเป็นท่าแม่ไม้ ลูกไม้หลักซึ่งได้กำหนดไว้มาแต่ครั้ง รัชกาลที่ ๓ จะยังคงใช้ชื่อท่าเหล่านั้นไว้ซึ่งบางชื่ออาจตัดทอนให้สั้นลง
6.ขั้นของการฝึกอาจมีได้ถึง ขั้น ๘.สยบมาร และ ขั้น ๙ สราญรมย์ แต่เนื่องจากยังมีข้อจำกัดจึงมิได้ให้รายละเอียดไว้

0 comments:

Post a Comment