คณะกรรมการ(ผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน)
คุณสมบัติของกรรมการผู้
ชี้ขาด(อยู่บนเวที) และผู้ตัดสิน(อยู่ข้างล่าง) จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25
ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปี เว้นแต่คณะกรรมการผู้ตัดสินฯ
จะพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ต่อไปในระยะเวลาที่เห็นสมควร
..จะต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่า เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์
เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ...จะต้องผ่านการอบรม,
การทดสอบ, การขึ้นทะเบียนผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินมวยไทย
และได้รับตราพร้อมประกาศนียบัตร ของสภามวยไทยโลก
จำนวนกรรมการผู้
ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน จะต้องมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คน
และกรรมการผู้ตัดสิน 3 คน
ทั้งนี้ยังต้องมีประธานผู้ตัดสินเป็นผู้ควบคุมการแข่งขันอีกด้วย
กรรมการ
ผู้ชี้ขาดบนเวที(หรือในสังเวียน) จะต้องแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีน้ำเงิน
เสื้อเชิ้ตสีน้ำเงิน มีเครื่องหมายของสภามวยไทยโลก
และสวมรองเท้าหุ้มข้อชนิดเบาที่ไม่ส้นสูง จะต้องไม่สวมแว่น ไม่สวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะ และจะต้องตัดเล็บมือเรียบสั้น
กรรมการ
ผู้ชี้ขาด จะต้องรักษากติกาและให้ความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด
จะต้องไม่แสดงกริยาวาจาที่ไม่สุภาพต่อนักมวยและผู้ชม
จะต้องควบคุมการแข่งขันทุกระยะโดยตลอด
จะต้องป้องกันนักมวยที่อ่อนแอกว่าไม่ให้ได้รับความบอบช้ำจนเกินควรและโดยไม่
จำเป็น จะต้องตรวจนวม ตรวจเครื่องแต่งกาย
และฟันยางของนักมวยก่อนการแข่งขัน....ในยกแรกจะต้องให้นักมวยทั้งคู่จับมือ
กันกลางเวที และเตือนกติกาที่สำคัญ
การจับมือจะกระทำกันอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มการแข่งขันในยกสุดท้าย
….ห้ามนักมวยทั้งสอง จับมือกันระหว่างการแข่งขัน
ผู้ชี้ขาด จะต้องใช้คำสั่ง 3 คำ คือ ”หยุด” เมื่อ สั่งให้นักมวยหยุดชก … ”แยก” เมื่อสั่งให้นักมวยแยกออกจากการกอดรัด ….และ ”ชก” เมื่อสั่งให้นักมวยชกต่อไป …ในกรณีที่ผู้ชี้ขาดสั่งแยก นักมวยทั้งสองจะต้องถอยหลังออกมาก่อน อย่างน้อยคนละ 1 ก้าว แล้วจึงจะชกต่อไป
ผู้
ชี้ขาด จะต้องแสดงสัญญาณที่ถูกต้องให้นักมวยที่ละเมิดกติกาทราบ
ถึงความผิดของตน ....เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
จะต้องรวบรวมบัตรให้คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คนข้างล่างเวที จากนั้น
ชี้มุมผู้ชนะตามเสียงคะแนนข้างมาก แล้วชูมือนักมวยผู้ชนะขึ้น
นำบัตรคะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ให้ประธานผู้ตัดสินตรวจสอบ
ผู้
ชี้ขาดจะต้องไม่แสดงเจตนาใด ๆ อันส่อให้เห็นว่า
ให้คุณให้โทษแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น นับช้า-นับเร็ว, เตือน-ไม่เตือน
ฯลฯ อันจะมีผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
…..ต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์ชี้นำหรือให้สัมภาษณ์ต่อผลของการชกที่ยังไม่เกิด
ขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้ว ....ในกรณีที่ผู้ชี้ขาด
ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ให้ผู้ตัดสินที่ 1
ขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่แทน
ผู้ชี้ขาดมีอำนาจ ….ยุติการแข่งขัน
เมื่อเห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีฝีมือเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมาก หรือชกอยู่ข้างเดียว
…..ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่านักมวยบาดเจ็บจนไม่สามารถจะให้ชกต่อไปได้
…..ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่านักมวยไม่แข่งขันกันโดยจริงจัง
ในกรณีเช่นนี้ อาจให้นักมวยคนหนึ่งหรือสองคนออกจากการแข่งขันได้
สิ่ง
ที่ผู้ชี้ขาด จะต้องปฏิบัติเป็นมาตรฐาน
....จะต้องตรวจความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ต่างๆก่อนจะเริ่ม
บอกให้ชก …..จะต้องให้นักมวยไหว้ครู ถ้าไม่ไหว้ครูจะไม่มีการแข่งขัน
……จะต้องชี้แจงกติกา ซึ่งพูดว่า ”ชกให้เต็มที่ มีน้ำใจ เป็นนักกีฬา
ห้ามทำฟาล์วใด ๆ ทั้งสิ้น และต้องฟังคำสั่งอย่างเคร่งครัด ขอให้โชคดี”
……ชี้ให้นักมวยเข้ามุม เพื่อถอดมงคล และใส่ฟันยาง
…….ให้สัญญาณแก่ผู้รักษาเวลา ให้ตีระฆังยกแรก ส่วนในยกต่อ ๆ
ไปไม่ต้องให้สัญญาณ …….ให้สัญญาณการชก
…….ต้องแน่ใจว่านักมวยหยุดและแยกเข้ามุมแล้ว จึงจะเดินเข้ามุมกลาง
……เมื่อหมดยกสุดท้าย ก่อนจะรวบรวมใบคะแนน
จะต้องให้นักมวยอยู่ในมุมของตนก่อน
……..เมื่อรวบรวมใบคะแนนจากผู้ตัดสินครบแล้ว จึงชูมือผู้ชนะ
โดยหันหน้าไปในทิศทางเดียวกันกับนักมวย ……การยืน
หรือการยืนมุมของผู้ชี้ขาด จะต้องยืนตรง อย่างสง่าผ่าเผยเสมอ ซึ่งยืนได้ 2
แบบ คือ ยืนเอามือไขว้หลัง หรือยืนกางแขนทาบไปตามเชือกเส้นบน ……ผู้ชี้ขาด
จะผลักนักมวยไม่ได้ …ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรใช้เท้ากันหรือแยกมวย
และไม่ควรยกเท้าสูง ….การรับศีรษะนักมวย ถือเป็นศิลปของการห้ามมวย
ซึ่งควรทำได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว ......และผู้ชี้ขาด
จะต้องไม่ลงจากเวทีก่อนนักมวย
หน้าที่ของผู้ตัดสิน
…ผู้ตัดสินแต่ละคนจะต้องตัดสินการชกของนักมวยโดยอิสระ
และจะต้องตัดสินไปตามกติกา .....ผู้ตัดสินแต่ละคน
จะต้องอยู่คนละด้านของเวทีและห่างจากผู้ชม
…ในระหว่างที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ ผู้ตัดสินจะต้องไม่พูดกับนักมวย
หรือกับผู้ตัดสินด้วยกัน หรือกับบุคคลอื่น ยกเว้นกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที
....ถ้ามีความจำเป็นจะต้องพูดกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที
ให้ใช้เวลาหยุดพักระหว่างยก
แจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เช่น
พี่เลี้ยงปฏิบัติผิดมารยาท เชือกหย่อน ฯลฯ
ซึ่งผู้ชี้ขาดอาจจะไม่สังเกตเห็นในขณะนั้น
ผู้ตัดสิน
จะต้องให้คะแนนแก่นักมวยทั้งสอง ในบัตรบันทึกคะแนน
ทันทีที่สิ้นสุดการแข่งขันของแต่ละยก
…ผู้ตัดสินจะต้องไม่ลุกออกจากที่นั่งให้คะแนน
จนกว่าผู้ชี้ขาดจะชูมือตัดสินผลการแข่งขันแล้ว ……การแต่งกาย ผู้ตัดสิน
จะต้องแต่งกายตามที่ สภามวยไทยโลก กำหนด
จรรยาบรรณของผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน
จะ
ต้องไม่มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต
……จะต้องไม่ให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์ใดๆที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียในการ
ตัดสิน …….จะต้องไม่ประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง
……จะต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการแข่งขัน 24 ชั่วโมง
012 ยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์
ข้อมูลประวัติชื่อ - สกุล : ยอดทนง โพธิรัตน์
อายุ : 22
หัวหน้าคณะ : บรรจง บุษราคัมวงศ์
ผู้จัดการ : บรรจง บุษราคัมวงศ์
เทรนเนอร์ : ยักษ์
สถิติการชก : ชก 211 ครั้ง : ชนะ 142 แพ้ 65 เสมอ 4
เกียรติประวัติ : 1.อดีตแชมป์รุ่นฟลายเวต น้ำหนักไม่เกิน 112 ปอนด์ เวทีลุมพินี
2.แชมป์รุ่นเวลเตอร์เวต น้ำหนักไม่เกิน 147 ปอนด์ เวทีลุมพินี
3.แชมป์รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวต น้ำหนักไม่เกิน 154 ปอนด์ ประเทศไทย
4.แชมป์มวยไทยรุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวต W.B.C.
5.แชมป์มวยรอบโตโยต้า ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล ปี 2546
อื่นๆ : มวยประเภทเหลี่ยมเชิงฉลาด หมัดศอกแข็ง
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment