การไหว้ครู
เป็นประเพณีของชาวไทย ซึ่งสำแดงถึงความกตัญญูรู้คุณ ในการแสดงศิลปะ วิชาการแขนงต่าง ๆ แทบทุกแขนง เช่น โขน ละคร ฯลฯ ก็มักจะถือเอาครู เป็นมิ่งขวัญสำคัญ ต้องกราบไหว้ก่อน และ ด้วยประเพณีนี้ ทำให้มวยซึ่งเป็นศิลปะวิชาการ ประเภทหนึ่ง ก็มีวิธี ไหว้ครูก่อนทำการชก
การไหว้ครู
บางท่านว่า ประเพณีเกิดจากสมัยเก่าก่อน การชกมวยมักจะมีต่อหน้าพระที่นั่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข มักเสด็จ ทอดพระเนตร ฉะนั้นนักมวยที่จะเข้าทำการต่อสู้กัน จึงต้องทำการถวายบังคมด้วยท่าทางของมวย มีฟ้อนรำตามประ เพณี เป็นการขอรับ พระราชทานอภัยในสิ่งที่ตนอาจพลาดพลั้งในกิริยาท่าทาง ฯลฯ
การไหว้ครู มีท่ารำอยู่หลายท่า ตามแต่ครูฝึกสอนจะนิยมนำมาให้ศิษย์ใช้ เช่น รำเทพพนม พรหมสี่หน้า นารายณ์น้าวศร ฯลฯ การรำดังกล่าวนี้ เมื่อได้กราบ ๓ รา ด้วยท่ามวยแล้ว จึงรำด้วยท่าใดท่าหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ในที่นี้จะได้นำมากล่าว เฉพาะ พรหมสี่หน้า ซึ่งนิยมกันมาก
พรหมสี่หน้า
เริ่มด้วยการนั่งคุกเข่า ๒ ข้างลงกับพื้น ทำมุมกาง ๙๐ องศา นั่งทับส้นเท้า
จังหวะ ๑
ยกมือพนมระหว่างคิ้ว แล้วเลื่อนลดลงมาหยุดเสมออก
จังหวะ ๒
แยกมือที่พนมออกจากกัน เหยียดตรงไปข้าง ๆ ตัว แล้วโน้มตัวไปข้างหน้า วกมือทั้ง ๒ ไปบรรจบกันข้างหน้า คว่ำแตะพื้น ศีรษะก้มลงในท่ากราบ แล้วผงกศีรษะทรงตัวตรงตามเดิม
จังหวะ ๑ - ๒ นี้เป็นท่ากราบ เมื่อทรงตัวตรง มือทั้ง ๒ กลับขึ้นพนมเหนือคิ้ว และลดพักเพียงอกอีก ทำท่ากราบนี้ให้ครบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบครั้งที่ ๓ แล้ว
จังหวะ ๓
เหยียดเท้าขวาออก เป็นท่าชันเข่ายืน แขนขวาออกแรงแตะเข่าขวา
จังหวะนี้เป็นท่าเตรียมยืน แต่เพื่อความสง่างามจึงมีจังหวะเคลื่อนไหวให้แนบเนียนขึ้น เมื่อใช้มือขวาแตะเข่าขวา ยืนตรงขึ้น พร้อมด้วยหมัดซ้ายยกขึ้นระดับเสมออก ประชิดเท้าซ้ายขึ้นเสมอเท้าขวา เป็นท่ายืนหันหน้าไปทางคู่ต่อสู้
จังหวะ ๔
ยกเท้าขวางอเข่าขึ้นข้างหน้าเป็นมุม ๙๐ องศา ๒ หมัดยกควงเสมอหน้ารอบหนึ่ง แล้วเหยียดหมัดยกขึ้นควงเสมอขวา ไปแตะขาขวา (ที่ยกอยู่) ลดเท้าขวาลงพื้น หมัดทั้งสองอยู่ในท่าคุม (การ์ด) สืบเท้าขวาและซ้ายตามไปสามจังหวะ จังหวะสั้น ๆ แล้วหยุด หยุดการสืบเท้าแล้ว เบี่ยงซ้ายชันเข่าซ้าย เป็นมุม ๙๐ องศา หมัดทั้ง ๒ ยกควงเสมอหน้า แล้วเหยียดแขนซ้าย แตะหมัดไปที่ขาซ้าย (ที่ยกอยู่) ลดเท้าซ้ายยันพื้นสืบเท้า ๓ จังหวะ สู่จุดเดิม ทำดังนี้จากด้านหน้า (ดังได้อธิบายแล้ว) กลับหลังแล้วยกเท้าขวาขึ้น เริ่มต้น จังหวะ ๔ อีกครั้ง เบี่ยงตัวไปทางขวา ปฏิบัติทุกอย่างเช่นเดียวกัน หากเป็นเพียง สืบเท้าไปทางด้านขวา จากด้านขวาแล้วเปลี่ยน เป็นซ้ายและหลังเป็นที่สุด ซึ่งสรุปการรำนี้ เป็นการก้าวฉาก แล้วเฉียง ไปทั้งสี่ทิศ จึงให้ชื่อว่าพรหมสี่หน้า
เทพนม
การคุกเข่าลงพับเพียบแบบนั่งทับส้นเท้าทั้งสอง ยกมือประนมระหว่างอก สลัดความนึกคิดต่างๆให้ออกไปจากอารมณ์ทั้งหมด และหากมีอารมณ์ใหม่เกิดขึ้น ก็ต้องให้เป็นความรู้สึกที่นิ่งและแน่วแน่มีสภาพคล้ายจุดกลม(พินธุ) ก้มลงกราบให้ฝ่ามือทั้งสองทาบพื้น แล้วยกกลับมาประนมอยู่ระหว่างอกดังเก่า จากนั้นเลื่อนขึ้นไปให้นิ้วหัวแม่มือที่อยู่ในท่าประนมนั้นแตะที่หน้าผาก หงายหน้าขึ้นเล็กน้อย แล้วเลื่อนลงกลับมาที่ระดับอก ก้มลงกราบอีก ท่านอบน้อมนี้กระทำ 3 หนด้วยกัน
การชักเท้าขวาไปด้านข้างแล้วตั้งเข่าขึ้น มือเปลี่ยนจากท่าประนมเป็นกำหมัดหลวมๆ โดยให้แขนขวาอยู่เหนือวงแขนซ้าย และพร้อมที่จะเหยียดวาดออกไปเป็นวงกลมทั้งสองข้าง
วาดมือทั้งสองข้างโดยค่อยๆเหยียด(บิด) ออกไปด้านข้างหมุนให้เป็นวงสุดแขน อกตั้ง หลังตรง หน้าเชิด เมื่อเหยียดแขนวาดเป็นวงครบรอบ ก็ควงหมัดหมุนรอบกันและกันอยู่ที่ระดับหน้าอก 3 รอบ การเหยียดแขนวาดวงนี้จะกระทำ 3 ครั้ง จากนั้นกลับหลังเปลี่ยนทิศ โดยคุกเข่าขวาตั้งเข่าซ้าย (ท่าเหยียดแขนวาดวงแบบเดิม) เมื่อกระทำด้านหน้าและด้านหลังแล้ว ก็หันไปด้านข้าง โดยเริ่มจากทางด้านขวาก่อน การคุกเข่า-ตั้งเข่าก็กระทำแบบเดียวกับด้านหน้าและด้านหลังเมื่อครบก็จะได้ เป็น 4 ทิศ จึงเรียกท่านี้อีกอย่างหนึ่งว่า "ท่าพรหม 4 หน้า"
ตามหลักอาถรรพณ์ศาสตร์ พรหม 4 หน้า คือวิชาสะกดจิตอำพรางตาในระดับหนึ่ง โดยการอำพรางตานั้น ได้แก่การสะกดจิตไม่ให้เห็นอะไรเลย หรือว่าเห็นภาพหลอน (มายา) ไปต่างๆ วิชาเหล่านี้ในพุทธตันตระแยยสยามจัดเป็นหมวยใหญ่อยู่ในวิชา "แคล้วคลาด" ท่าพรหมในการร่ายรำไหว้ครูของมวยไทย หากจะกล่าวตามมิติของตำนานแล้วฃ ก็คือการแพ่งกระแสจิตลงยันต์สำกดไว้บนพื้นเวทีของการแข่งขัน เป็นการเปิดศึกทางอาถรรพณศาสตร์ หรือสงครามจิตวิทยา กับคู่ต่อสู้นั่นเอง อย่างไรก็ตามตำนานก็คือตำนานเท่านั้น
เป็นท่าที่ต่อจากที่พรหม ประนมมือลุกขึ้นยืนตรง เรียกว่า "เทพนิมิต"
หมัดซ้ายขวาเปลี่ยนจากการพนมมาควงหมันรอบกัน 3 รอบ พร้อมกับตั้งเท้ายกเข่าขวาวาดบิดเป็นวงมาทางขวามือ ลดหมัดขวาลงแตะโคนขาขวา ยกหมัดซ้ายหงายแตะโหนกคิ้วซ้าย จากนั้นย่ำเท้าขวาลงไปหนึ่งก้าวในทิศที่หันหน้าไปนั้น (ขวามือคือท่าเทพนิมิตเดิม) ขยับเท้าขวาไปเบื้องหน้าครึ่งก้าว แล้วขยับเท้าซ้ายตามครึ่งก้าว รวม 3 ครั้ง แล้วทิ้งนำหนักลงเท้าขวา ลดหมัดซ้ายลง พร้อมกับเหยียดแขนทั้งสองค่อยๆบิดหมุนเป็นวงไปด้านหลัง พลางยกเท้าซ้ายพับขึ้นไปด้านหลัง แขนทั้งสองวาดเป็นวงย้อนกลับมาด้านหน้าตามด้วยการควงหมัดซ้ายขวาหมุนรอบกัน อีก 3 รอบ
เป็นท่าที่ต่อจากยูงฝ้อนหาง เมื่อควงหมัดขวาครบ 3 รอบแล้ว ก็ค่อยๆบิดไหล่หันลำตัวมาทางขวาช้าๆ หงายหมัดขวาแล้วเหยียดสูงออกไปด้านหน้า พร้อมกับจังหวะที่บิดไหล่หันลำตัวนั้น ส่วนหมัดซ้ายก็ลดจากอกลงไปแตะไว้ที่โคนขาซ้าย
ต่อจากท่านารายณ์ขว้างจักร บิดไหล่หันลำตัวมาทางขวาอีกครั้ง เป็นการหันกลับหลังพอดี ค่อยๆ ลดเท้าซ้ายที่ยกพัยไปข้างหลังไว้อยู่ลง และเหยียดตรงไปข้างหลัง พร้อมกับหน้าเบือนหันตามไปด้วย แล้วดึงเท้าซ้ายมาเสมอกับเท้าขวา เป็นการยืนตรง หันหน้าไปทางซ้ายตามเดิม เริ่มต้นด้วยท่าเทพนิมิตใหม่อีกครั้ง ซึ่งในทิศนี้เป็นทิศตรงข้ามกับทิศที่ร่ายรำครั้งแรก เมื่อร่ายรำในทิศที่สองนี้ ก่อนย่ำเท้าเขยิบไปข้างหน้า เท้าที่ยกขึ้นตั้งเข่าสำหรับทิศนี้ก็เป็นข้างขวา สำหรับอีก 2 ทิศ ซึ่งขวางติดกับทิศทั้งสองข้างต้น ลำดัยท่าร่ายรำก็จะซ้ำกับสองทิศแรก เมื่อรำร่ายยูงฟ้อนหาง นารายณ์ขว้างจักร และพยัคฆ์ด้อมกวาง(หรือ หวางเหลียวหลัง) ครบทั้ง 4 ทิศแล้ว ก็จะกลับคืนสู่ท่าเทพนิมิตอีกครั้ง
มารยาทมวยไทย
๑. เคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัด
๒. มีความขยันหมั่นเพียร
๓. พร่ำบ่นมนต์คาถาต่าง ๆ ที่ครูประสาทให้
๔. ไม่ดูถูกฝีมือนักมวยรุ่นพี่
๕. เคารพในเครื่องรางของขลัง
๖. ไม่นำเอาวิชามวยไปรังแกผู้อื่น นอกจากป้องกันตัวเท่านั้น
๗. ไม่โอ้อวดความสามารถ
๘. หลีกเลี่ยงของมึนเมาต่าง ๆ
๙. เข้าร่วมในพิธีการยกครูทุกครั้ง
๑๐. ให้ความเคารพในครูมวยคณะอื่น ๆ ด้วย
fenix168 เกมออนไลน์เปลี่ยนเป็นหนึ่งในกิจกรรมยอดนิยมและก็ความพึงพอใจ PG จากผู้คนทั้งโลกเหตุที่เกิดจากความสบายสบายที่สมควรสำหรับเพื่อการเล่นเกมที่บ้านหรือสถานที่สำหรับทำงาน
ReplyDelete