Sunday, October 28, 2012

คณะกรรมการ(ผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน)

 คณะกรรมการ(ผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน)
 

คุณสมบัติของกรรมการผู้ ชี้ขาด(อยู่บนเวที) และผู้ตัดสิน(อยู่ข้างล่าง) จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปี เว้นแต่คณะกรรมการผู้ตัดสินฯ จะพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ต่อไปในระยะเวลาที่เห็นสมควร ..จะต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่า เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน ...จะต้องผ่านการอบรม, การทดสอบ, การขึ้นทะเบียนผู้ชี้ขาด/ผู้ตัดสินมวยไทย และได้รับตราพร้อมประกาศนียบัตร ของสภามวยไทยโลก


จำนวนกรรมการผู้ ชี้ขาด/ผู้ตัดสิน จะต้องมีกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที 1 คน และกรรมการผู้ตัดสิน 3 คน ทั้งนี้ยังต้องมีประธานผู้ตัดสินเป็นผู้ควบคุมการแข่งขันอีกด้วย


กรรมการ ผู้ชี้ขาดบนเวที(หรือในสังเวียน) จะต้องแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีน้ำเงิน เสื้อเชิ้ตสีน้ำเงิน มีเครื่องหมายของสภามวยไทยโลก และสวมรองเท้าหุ้มข้อชนิดเบาที่ไม่ส้นสูง จะต้องไม่สวมแว่น ไม่สวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะ และจะต้องตัดเล็บมือเรียบสั้น


กรรมการ ผู้ชี้ขาด จะต้องรักษากติกาและให้ความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด จะต้องไม่แสดงกริยาวาจาที่ไม่สุภาพต่อนักมวยและผู้ชม จะต้องควบคุมการแข่งขันทุกระยะโดยตลอด จะต้องป้องกันนักมวยที่อ่อนแอกว่าไม่ให้ได้รับความบอบช้ำจนเกินควรและโดยไม่ จำเป็น จะต้องตรวจนวม ตรวจเครื่องแต่งกาย และฟันยางของนักมวยก่อนการแข่งขัน....ในยกแรกจะต้องให้นักมวยทั้งคู่จับมือ กันกลางเวที และเตือนกติกาที่สำคัญ การจับมือจะกระทำกันอีกครั้งหนึ่งก่อนเริ่มการแข่งขันในยกสุดท้าย ….ห้ามนักมวยทั้งสอง จับมือกันระหว่างการแข่งขัน



ผู้ชี้ขาด จะต้องใช้คำสั่ง 3 คำ คือ ”หยุด” เมื่อ สั่งให้นักมวยหยุดชก … ”แยก” เมื่อสั่งให้นักมวยแยกออกจากการกอดรัด ….และ ”ชก” เมื่อสั่งให้นักมวยชกต่อไป …ในกรณีที่ผู้ชี้ขาดสั่งแยก นักมวยทั้งสองจะต้องถอยหลังออกมาก่อน อย่างน้อยคนละ 1 ก้าว แล้วจึงจะชกต่อไป


ผู้ ชี้ขาด จะต้องแสดงสัญญาณที่ถูกต้องให้นักมวยที่ละเมิดกติกาทราบ ถึงความผิดของตน ....เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน จะต้องรวบรวมบัตรให้คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คนข้างล่างเวที จากนั้น ชี้มุมผู้ชนะตามเสียงคะแนนข้างมาก แล้วชูมือนักมวยผู้ชนะขึ้น นำบัตรคะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 3 คน ให้ประธานผู้ตัดสินตรวจสอบ


ผู้ ชี้ขาดจะต้องไม่แสดงเจตนาใด ๆ อันส่อให้เห็นว่า ให้คุณให้โทษแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น นับช้า-นับเร็ว, เตือน-ไม่เตือน ฯลฯ อันจะมีผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง …..ต้องไม่วิพากษ์วิจารณ์ชี้นำหรือให้สัมภาษณ์ต่อผลของการชกที่ยังไม่เกิด ขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้ว ....ในกรณีที่ผู้ชี้ขาด ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ให้ผู้ตัดสินที่ 1 ขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่แทน


ผู้ชี้ขาดมีอำนาจ ….ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีฝีมือเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งมาก หรือชกอยู่ข้างเดียว …..ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่านักมวยบาดเจ็บจนไม่สามารถจะให้ชกต่อไปได้ …..ยุติการแข่งขัน เมื่อเห็นว่านักมวยไม่แข่งขันกันโดยจริงจัง ในกรณีเช่นนี้ อาจให้นักมวยคนหนึ่งหรือสองคนออกจากการแข่งขันได้



สิ่ง ที่ผู้ชี้ขาด จะต้องปฏิบัติเป็นมาตรฐาน ....จะต้องตรวจความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ต่างๆก่อนจะเริ่ม บอกให้ชก …..จะต้องให้นักมวยไหว้ครู ถ้าไม่ไหว้ครูจะไม่มีการแข่งขัน ……จะต้องชี้แจงกติกา ซึ่งพูดว่า ”ชกให้เต็มที่ มีน้ำใจ เป็นนักกีฬา ห้ามทำฟาล์วใด ๆ ทั้งสิ้น และต้องฟังคำสั่งอย่างเคร่งครัด ขอให้โชคดี” ……ชี้ให้นักมวยเข้ามุม เพื่อถอดมงคล และใส่ฟันยาง …….ให้สัญญาณแก่ผู้รักษาเวลา ให้ตีระฆังยกแรก ส่วนในยกต่อ ๆ ไปไม่ต้องให้สัญญาณ …….ให้สัญญาณการชก …….ต้องแน่ใจว่านักมวยหยุดและแยกเข้ามุมแล้ว จึงจะเดินเข้ามุมกลาง ……เมื่อหมดยกสุดท้าย ก่อนจะรวบรวมใบคะแนน จะต้องให้นักมวยอยู่ในมุมของตนก่อน ……..เมื่อรวบรวมใบคะแนนจากผู้ตัดสินครบแล้ว จึงชูมือผู้ชนะ โดยหันหน้าไปในทิศทางเดียวกันกับนักมวย ……การยืน หรือการยืนมุมของผู้ชี้ขาด จะต้องยืนตรง อย่างสง่าผ่าเผยเสมอ ซึ่งยืนได้ 2 แบบ คือ ยืนเอามือไขว้หลัง หรือยืนกางแขนทาบไปตามเชือกเส้นบน ……ผู้ชี้ขาด จะผลักนักมวยไม่ได้ …ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรใช้เท้ากันหรือแยกมวย และไม่ควรยกเท้าสูง ….การรับศีรษะนักมวย ถือเป็นศิลปของการห้ามมวย ซึ่งควรทำได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว ......และผู้ชี้ขาด จะต้องไม่ลงจากเวทีก่อนนักมวย



หน้าที่ของผู้ตัดสิน …ผู้ตัดสินแต่ละคนจะต้องตัดสินการชกของนักมวยโดยอิสระ และจะต้องตัดสินไปตามกติกา .....ผู้ตัดสินแต่ละคน จะต้องอยู่คนละด้านของเวทีและห่างจากผู้ชม …ในระหว่างที่การแข่งขันกำลังดำเนินอยู่ ผู้ตัดสินจะต้องไม่พูดกับนักมวย หรือกับผู้ตัดสินด้วยกัน หรือกับบุคคลอื่น ยกเว้นกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที ....ถ้ามีความจำเป็นจะต้องพูดกับกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที ให้ใช้เวลาหยุดพักระหว่างยก แจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เช่น พี่เลี้ยงปฏิบัติผิดมารยาท เชือกหย่อน ฯลฯ ซึ่งผู้ชี้ขาดอาจจะไม่สังเกตเห็นในขณะนั้น


ผู้ตัดสิน จะต้องให้คะแนนแก่นักมวยทั้งสอง ในบัตรบันทึกคะแนน ทันทีที่สิ้นสุดการแข่งขันของแต่ละยก …ผู้ตัดสินจะต้องไม่ลุกออกจากที่นั่งให้คะแนน จนกว่าผู้ชี้ขาดจะชูมือตัดสินผลการแข่งขันแล้ว ……การแต่งกาย ผู้ตัดสิน จะต้องแต่งกายตามที่ สภามวยไทยโลก กำหนด



จรรยาบรรณของผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสิน

จะ ต้องไม่มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต ……จะต้องไม่ให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์ใดๆที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียในการ ตัดสิน …….จะต้องไม่ประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง ……จะต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนการแข่งขัน 24 ชั่วโมง




012 ยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์
ข้อมูลประวัติชื่อ - สกุล : ยอดทนง โพธิรัตน์
อายุ : 22
หัวหน้าคณะ : บรรจง บุษราคัมวงศ์
ผู้จัดการ : บรรจง บุษราคัมวงศ์
เทรนเนอร์ : ยักษ์
สถิติการชก : ชก 211 ครั้ง : ชนะ 142 แพ้ 65 เสมอ 4
เกียรติประวัติ : 1.อดีตแชมป์รุ่นฟลายเวต น้ำหนักไม่เกิน 112 ปอนด์ เวทีลุมพินี
2.แชมป์รุ่นเวลเตอร์เวต น้ำหนักไม่เกิน 147 ปอนด์ เวทีลุมพินี
3.แชมป์รุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวต น้ำหนักไม่เกิน 154 ปอนด์ ประเทศไทย
4.แชมป์มวยไทยรุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวต W.B.C.
5.แชมป์มวยรอบโตโยต้า ดีโฟร์ดี คอมมอนเรล ปี 2546
อื่นๆ : มวยประเภทเหลี่ยมเชิงฉลาด หมัดศอกแข็ง

การชั่งน้ำหนักและการจำแนกรุ่น

การชั่งน้ำหนักและการจำแนกรุ่น 
 

นัก มวยจะต้องได้รับการตรวจร่างกายและรับรองจากนายแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้ง ว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์พอ ที่จะเข้าแข่งขันชกมวย และจะต้องชั่งน้ำหนักในวันแข่งขันอย่างตัวเปล่า โดยการแข่งขันจะต้องไม่เริ่มขึ้นก่อน 3 ชั่วโมงหลังจากเวลาชั่งน้ำหนัก


รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 104 ปอนด์ (47.727 กก.)

รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กก.)

รุ่นฟลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กก.)

รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท น้ำหนักไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กก.)

รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กก.)

รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กก.)

รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กก.)

รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท น้ำหนักไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กก.)

รุ่นไลท์เวท น้ำหนักไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กก.)

รุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กก.)

รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.638 กก.)

รุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท น้ำหนักไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.843 กก.)

รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักไม่เกิน 160 ปอนด์ (71.575 กก.)

รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กก.)

รุ่นครุยเซอร์เวท น้ำหนักไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กก.)

รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักเกิน 190 ปอนด์ขึ้นไป (86.183 กก. ขึ้นไป)




6. การไหว้ครูและจำนวนยก

ก่อน เริ่มทำการแข่งขันในยกแรก นักมวยทั้งคู่จะต้องร่ายรำไหว้ครูตามประเพณี และถูกต้องตามรูปแบบมวยไทย โดยจะมีดนตรีประกอบ คือ ปี่ชวา ฉิ่งจับหวังหวะ และกลองแขก เมื่อร่ายรำไหว้ครูเสร็จแล้ว จึงจะเริ่มการแข่งขัน


การ แข่งขันชกมวยไทย จะมี 5 ยก ยกละ 3 นาที หยุดพักระหว่างยก 2 นาที ส่วนการหยุดการแข่งขันเพื่อตำหนิโทษ ตักเตือน จัดเครื่องแต่งกายของนักมวย หรือด้วยเหตุอื่น ๆ ไม่นับรวมอยู่ใน 3 นาที



7. นักมวย

นัก มวยไทย จะต้องมีคุณสมบัติ อายุไม่ต่ำกว่า 14 ปี บริบูรณ์ น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 100 ปอนด์ และต้องไม่เป็นที่ต้องห้ามตามที่ระบุไว้ในคู่มือแพทย์ของสภามวยไทยโลก




8. พี่เลี้ยงนักมวย

 

นัก มวยแต่ละคน จะให้มีพี่เลี้ยง 2 คน ซึ่งจะแนะนำหรือช่วยเหลือหรือส่งเสริมนักมวยของตนในระหว่างการชกอยู่ไม่ได้ ถ้าพี่เลี้ยงละเมิดกติกาอาจถูกตำหนิโทษหรือให้ออกจากหน้าที่ หรือนักมวยของตนอาจถูกให้ออกจากการแข่งขันได้


พี่เลี้ยง จะต้องสวมเสื้อแสดงสัญลักษณ์คณะนักมวยของตนให้สุภาพเรียบร้อย การให้น้ำนักมวย พี่เลี้ยงจะต้องไม่ให้น้ำ แก่นักมวยของตนจนเปียกชุ่ม และจะต้องไม่ทำให้พื้นเวทีเปียกลื่น ก่อนเริ่มการแข่งขันในแต่ละยก พี่เลี้ยงจะต้องนำผ้าเช็ดตัว ขวดน้ำ ฯลฯ ออกไปจากขอบสังเวียน ขณะพักยก พี่เลี้ยงจะต้องตรวจดูเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ของนักมวยให้อยู่ในสภาพเรียบ ร้อยก่อนที่สัญญาณของยกต่อไปจะดังขึ้น ในระหว่างการชก พี่เลี้ยงจะต้องอยู่ในที่นั่งของตน และถ้ามีเหตุที่นอกเหนือความสามารถ พี่เลี้ยงจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ชี้ขาดทราบทันที ห้ามพี่เลี้ยงใช้วาจาไม่สุภาพ หรือทำร้ายนักมวยของตน ระหว่างการแข่งขันและภายหลังการแข่งขัน พี่เลี้ยงจะยอมแพ้แทนนักมวยของตน เช่น โยนฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวเข้าไปในสังเวียน ไม่ได้


ถ้าเป็นการ แข่งขันเพื่อชิงตำแหน่ง หรือป้องกันตำแหน่งแชมเปี้ยน ให้มีพี่เลี้ยงได้ฝ่ายละ 3 คน แต่ในระหว่างพักยก พี่เลี้ยงจะเข้าไปในสังเวียนได้เพียง 2 คนเท่านั้น

กติกามวยไทย

 กติกามวยไทย

1. สังเวียนมวยหรือเวทีมวย


ขนาดของสังเวียน จะต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดเล็ก ด้านละ 20 ฟุต (6.10 เมตร) หรือขนาดใหญ่ ด้านละ 24 ฟุต (7.30 เมตร) ซึ่งวัดภายในของเชือก


พื้นสังเวียน จะต้องได้ระดับ เรียบแน่นหนามั่นคง ปูด้วยยาง หรือผ้าอย่างอ่อน หรือเสื่อฟางอัด หรือวัสดุที่เหมาะสม หนาไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว และปูทับด้วยผ้าใบที่ขึงตึงและคลุมพื้นสังเวียนทั้งหมด และต้องยื่นออกไปนอกเชือก อย่างน้อย 90 ซม. (36 นิ้ว) พื้นสังเวียนต้องอยู่สูงจากพื้นอาคารไม่ต่ำกว่า 4 ฟุตและไม่เกิน 5 ฟุต ตั้งเสาขนาด 4-5 นิ้ว สูงขึ้นไปจากพื้นเวที 58 นิ้ว มุมทั้งสี่ต้องหุ้มนวมให้เรียบร้อย


เชือกขึงสังเวียน จะต้องมีเชือก 4 เส้น มีความหนาอย่างน้อย 3 ซม. อย่างมาก 5 ซม. ขึงตึงกับเสามุมทั้งสี่ของสังเวียน สูงจากฟื้นสังเวียนขึ้นไปถึง ด้านบนของเชือก 45 ซม., 75 ซม., 105 ซม., และ 135 ซม. ตามลำดับ เชือกทุกเส้นต้องหุ้มด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่มและเรียบ เชือกแต่ละด้านของสังเวียน จะต้องผูกยึดกันด้วยผ้าเหนียว 2 ชิ้น ซึ่งมีขนาดกว้าง 3 – 4 ซม. ให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน และผ้าที่ผูกนั้นต้อง ไม่เลื่อนไปตามเชือก


บันไดสังเวียน จะต้องมี 3 บันได มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 3 ฟุต สองบันไดจะต้องอยู่ที่มุมตรงข้ามสำหรับนักมวยและพี่เลี้ยง ส่วนอีกบันได จะต้องอยู่ที่มุมกลาง สำหรับผู้ชี้ขาดและแพทย์


กล่องพลาสติก ....ณ ที่มุมกลางทั้งสองมุม จะต้องติดตั้งกล่องพลาสติกไว้นอกสังเวียน มุมละ 1 กล่อง เพื่อให้ผู้ชี้ขาดทิ้งสำลีที่ใช้ซับเลือด



2. อุปกรณ์ประจำสังเวียน

ที่นั่งพักนักมวย สำหรับนักมวยนั่งพัก ระหว่างพักยก 2 ที่

ขวดน้ำขนาดเล็ก 2 ขวด สำหรับดื่ม และขวดน้ำชนิดพ่นฝอย 2 ขวด ไม่อนุญาตให้นักมวยหรือพี่เลี้ยงใช้ขวดน้ำชนิดอื่น บนสังเวียน

ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน

น้ำ 2 ถัง

โต๊ะและเก้าอี้สำหรับเจ้าหน้าที่

ระฆัง

นาฬิกาจับเวลาชนิดกดหยุดได้ 1 หรือ 2 เรือน

ใบบันทึกคะแนน

หีบใส่กุญแจ
สำหรับเก็บใบบันทึกคะแนน

ป้ายบอก จำนวนยก – จำนวนเวลา – และบอกลำดับเลขคู่ชก 1 ชุด

นวม 2 คู่

กางเกงมวยสีแดง และสีน้ำเงิน อย่างละ 1 ตัว (ใช้ในกรณีฉุกเฉิน)

กระจับพร้อมเชือก 1 – 2 อัน (ใช้ในกรณีฉุกเฉิน)

ฉากบังตา 2 อัน (ใช้ในกรณีฉุกเฉิน)

เปลหามคนเจ็บ 1 ชุด

กรรไกรปลายมน 1 อัน




3. นวมและผ้าพันมือ

นัก มวยไทย จะต้องใช้นวมที่ได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลก ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดไว้ให้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขัน ใช้นวมของตนเอง


นักมวยรุ่นเล็กถึงรุ่นน้ำหนัก 122 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 8 ออนซ์ นักมวยรุ่นสูงกว่า 122 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ ไส้นวมต้องไม่เปลี่ยนรูปขณะกระแทกกัน จะต้องผูกเชือกนวมให้ปมเชือกอยู่ด้านนอกหลังข้อมือของนวม และให้ใช้นามที่สะอาด และใช้การได้เท่านั้น


จะต้องใช้ผ้าพันมือ อย่างอ่อน ยาวข้างละไม่เกิน 6 เมตร กว้างไม่เกิน 5 ซม. ผ้าพันมือชนิดอื่นใช้ไม่ได้ อาจใช้พลาสเตอร์ยาง ข้างละ 1 เส้น ปิดทับข้อมือหรือหลังมือ ห้ามพันทับสันหมัด


การตรวจผ้าพันมือและตรวจการสวมนวม จะต้องอยู่ภายใต้การตรวจของเจ้าหน้าที่ตรวจนวม ก่อนจะขึ้นสู่เวที



4. การแต่งกายของนักมวย

นัก มวย จะต้องสวมกางเกงขาสั้นเพียงครึ่งโคนขาให้เรียบร้อย ไม่สวมเสื้อและไม่สวมรองเท้า นักมวยมุมแดง จะต้องสวมกางเกงสีแดง หรือสีชมพู หรือสีสีเลือดหมู หรือสีขาวที่มีแถบคาดแดง ส่วนนักมวยมุมน้ำเงิน จะต้องสวมกางเกงสีน้ำเงิน หรือสีดำ ห้ามคาดแถบสีแดง และจะต้องสวมเสื้อคลุมตามข้อบังคับของสภามวยไทยโลก


นักมวย จะต้องสวมกระจับที่ทำขึ้นจากวัสดุแข็งแรงทนทาน และได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลก เมื่อถูกตีด้วยเข่าหรือถูกเตะถีบด้วยเท้า ตรงบริเวณอวัยวะเพศ จะไม่ทำให้เกิดอันตราย การผูกกระจับจะต้องผูกปมไว้ด้านหลัง และจะต้องผูกด้วยเงื่อนตาย เก็บปลายเชือกส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย


ห้ามไว้ผมยาวรุงรัง และห้ามไว้เครา อนุญาตให้ไว้หนวดได้ แต่จะต้องยาวไม่เกินริมฝีหาก เล็บเท้า จะต้องตัดให้เรียบและสั้น


จะ ต้องสวมมงคลผ้าประเจียด หรือรัดเกล้า เฉพาะเวลาร่ายรำไหว้ครู ก่อนทำการแข่งขันเท่านั้น เครื่องรางจะอนุญาตให้ผูกที่โคนแขน หรือที่เอว แต่จะต้องหุ้มผ้าให้มิดชิดเรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่คู่แข่งขัน


อนุญาตให้ใช้ปลอก ยืดรัดข้อเท้ากันเคล็ด สวมข้อเท้าได้ข้างละไม่เกิน 1 อัน แต่ห้ามไม่ให้เลื่อนปลอกรัดขึ้นไป เป็นสนับแข้งหรือม้วนพับลงมา และห้ามใช้ผ้ารัดขาและรัดข้อเท้า


ห้ามมีเข็มขัด หรือสวมสร้อย สวมแหวน


ห้ามใช้น้ำมัน, วาสลิน, หรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้คู่แข่งขันเสียเปรียบ หรือเป็นที่น่ารังเกียจ ทาร่างกายหรือนวม


ฟันยาง นักมวย จะต้องใส่ฟันยาง


ผู้ ชี้ขาดจะให้นักมวยที่แต่งกายไม่สะอาดและไม่ถูกต้อง ออกจากการแข่งขัน ในกรณีที่นวมหรือเครื่องแต่งกายของนักมวย ไม่เรียบร้อยขณะแข่งขัน ผู้ชี้ขาดจะหยุดการแข่งขันเพื่อจัดให้เรียบร้อยเสียก่อน

มวยไทยเป็นศาสตร์


มวยไทย




# 01 มวยไทยเป็นศาสตร์


มวย ไทย เป็นการต่อสู้ของคนไทยที่มีมานานหลายร้อยปี มีบางคนกล่าวว่า มวยไทยเป็น ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด คือ สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า


มวย ไทย จะมีทั้งศาสตร์การป้องกันและการรุก ... การป้องกันก็คือ การยืนที่มั่นคงไม่ล้มง่าย การตั้งแขนป้องกัน (การการ์ดมวย) และการเก็บคาง ซึ่งการป้องกันนี้จะเปรียบเสมือนป้อมปราการที่มั่นคง มีโอกาสบาดเจ็บน้อย แต่พร้อมที่จะโจมตีตอบโต้ได้ทุกเวลา ส่วนการรุก ก็คือ การใช้แม่ไม้มวยไทยและลูกไม้มวยไทยต่างๆ ที่เคลื่อนไหวอย่างเด็ดขาดรุนแรงและสง่างาม อาวุธมวยจะมีทั้งการต่อสู้ระยะไกล(วงนอก) และการต่อสู้ระยะประชิด(วงใน) การออกอาวุธมวยจะมีทั้งมีเป้าหมายที่แน่นอน การซ่อนกลลวง และมีทั้งการข่มขวัญเอาไว้







แม่ไม้มวยไทย มี ทั้งหมด 15 ไม้ มีชื่อไพเราะดังนี้ ....สลับฟันปลา ...ปักษาแหวกรัง ….ชวาซัดหอก … อิเหนาแทงกริช …..ยอเขาพระสุเมรุ ……ตาเถรค้ำฝัก ….มอญยันหลัก ….ปักลูกทอย …..จระเข้ฟาดหาง …..หักงวงไอยรา …..นาคาบิดหาง …..วิรุฬหกกลับ …. ดับชวาลา ….. ขุนยักษ์จับลิง ….. หักคอเอราวัณ


ลูกไม้มวยไทย จะ มีทั้งลูกผสมและลูกแยก เพื่อใช้ล่อหลอกและเผด็จศึกคู่ต่อสู้ เช่น ...แตะตรงเตะ แตะถีบเตะ แตะตรงถีบเตะ ....หรือลูกเตะสลับ เตะช้อน เตะตวัด เตะสูง เตะสวาบ เตะพับนอก เตะพับใน เตะคา ....หรือลูกถีบหน้า ถีบหลัง ถีบจิก ....หรือลูกศอกตี ศอกตัด ศอกงัด ศอกพุ่ง ศอกกระทุ้ง ศอกกลับ ...หรือลูกเข่าน้อย เข่าลา เข่าโค้ง เข่าตี เข่ากระทุ้ง เข่าลอย เข่าแหลม เข่าคา ....หรือลูกหมัดหน้า หมัดหลัง หมัดลัก หมัดอ้อม หมัดเกี่ยว หมัดสอย หมัดเสย หมัดซ้ำ หมัดหนึ่งสอง หมัดชุดสามเหลี่ยม เป็นต้น


มวยไทยจะใช้ทั้งหมัด ศอก เข่า และเท้า


หากเป็นเชิงหมัด มวย ไทยจะมี 15 เชิง ........กาจิกไข่ …พระพรายล้มสิงขร …วานรหักด่าน ….พระกาฬเปิดโลก ….โขกนาสา .....อินทราขว้างจักร …พระลักษณ์ห้ามพล ….ผจญช้างสาร …หนุมานถวายแหวน ….ล่วงแดนเหรา …..นาคาพ่นไฟกาฬ …..หักด่านล่มกรด …..องคตพระขรรค์ …..ฤาษีลืมญาณ ….หนุมานจองถนน


หากเป็นเชิงศอก มวย ไทยจะมี 24 เชิง ….พุ่งหอก …ศอกฝานหน้า …พร้ายายแก่ …แง่ลูกคาง …ถางป่า ….ฟ้าลั่น …..ยันพยัคฆ์ …..จักรนารายณ์ …..ทรายเหลียวหลัง …..กวางสบัดหน้า ….คชาตกมัน ….พสุธาสะท้าน ….ยันโยธี …..อัคคีส่องแสง …..กำแพงภูผา …..นาคาคาบหาง.…ช้างประสานงา …สู่แดนนาคา ….โยธาเคลื่อนทัพ ….ยันสองกร ….ฆ้อนตีทั่ง …..ขว้างพสุธา …..ฤาษีบดยา ……นาคาเคลื่อนกาย


หากเป็นเชิงเข่า มวย ไทยจะมี 11 เชิง ……กุมภัณฑ์พุ่งหอก …..หยอกนาง ……เชยคาง ……พรางศัตรู ……งูไล่ตุ๊กแก ……ตาแก่ตีชุด …….หยุดโยธา …….ภูผาสะท้าน ……หักคอช้างเอราวัณ ……ดั้นภูผา ….ศิลากระทบ


และหากเป็นเชิงเท้า มวยไทยจะมี 15 เชิง ……เปิดทวาร …..ลงดานประตู …..กระทู้ขรัวตา ……โยธาสินธพ ……มานพเล่นขา …..มัจฉาเล่นหาง …..กวางเล่นโป่ง …..ณรงค์พยุหบาท …..จระเข้ฟาดหาง …..กินรีเล่นน้ำ …..ตามด้วยแข้ง …..แปลงอินทรีย์ ….พาชีสะบัดย่าง……นางสลับบาท ……กวาดธรณี


ยิ่งกว่านั้น มวยไทยยังมี กลมวยไทย แก้หมัด 29 กล, กลมวยไทย แก้ศอก 4 กล, กลมวยไทย แก้เข่า 3 กล, และกลมวยไทย แก้เท้าอีก 23 กล

มวยไทยแห่งสยามประเทศ

มวยไทย

มวยไทยแห่งสยามประเทศ

muay thai of siam

ประวัติศาสตร์ของมวยไทย
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของมวยไทยเริ่มมีและใช้กันในการสงครามในสมัยก่อน ในปัจจุบันมีการดัดแปลงมวยไทยมาใช้ในกองทัพโดยเรียกว่า “เลิศฤทธิ์” ซึ่งแตกต่างจากมวยไทยในปัจจุบันที่ใช้เป็นการกีฬา โดยมีการใช้นวมขึ้นเพื่อป้องกันการอันตรายที่เกิดขึ้น มวยไทยยังคงได้ชื่อว่า ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า (บางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตีด้วย)
มวยไทยสืบทอดมาจากมวยโบราณ ซึ่งแบ่งออกเป็นแต่ละสายตามท้องที่นั้น ๆ โดยมีสายสำคัญหลัก ๆ เช่น มวยท่าเสา (ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง) มีคำกล่าวไว้ว่า “หมัดดีโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา”
การศึกษาศิลปะมวยไทย
มีผู้กล่าวกันว่ามีตำนานเกี่ยวเนื่องกับพระนางจามเทวี ผู้สร้างเมืองลำพูน ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 1200 มีพระฤๅษีนาม สุกกะทันตะฤๅษี ซึ่งเป็นสหายธรรม กับ ท่านสุเทวะฤๅษี เป็นพระอาจารย์ผู้สั่งสอน ธรรมวิทยา แล ศิลปศาสตร์ทั้งปวงอันควรแก่การศึกษาสำหรับขุนท้าวเจ้าพระยาทั้งหลาย โดยตั้งเป็นสำนักเรียนขึ้นที่ เขาสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี(ลวะปุระ หรือ ละโว้ ) ในสรรพวิทยาทั้งหลายนั้น ประกอบด้วยวิชชาอันควรแก่ ชายชาตรี ที่เรียกว่า มัยศาสตร์ (มายาศาสตร์ หรือบ้างเรียกว่า วิชาชาตรี)

muay thai of siam
 
พระนางจามเทวี

muay thai of siam  

วาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษี
อันได้แก่ วิชามวย วิชาดาบ วิชาธนู วิชาบังคับช้าง ม้า ซึ่งเป็นการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญในการต่อสู้ป้องกันตัวและศึกสงคราม ในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน (สำนักเรียนมวย แตกต่างจาก ค่ายมวย คือ สำนักเรียนจะมีเจ้าสำนัก หรือ , ซึ่งมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหาย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ที่มีความเหมาะสม ส่วน ค่ายมวย เป็นที่รวมของผู้ที่ชื่นชอบในการชกมวย มีจุดประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน-ประลอง) โดยแยกเป็น สำนักหลวง และ สำนักราษฎร์ บ้างก็ฝึกเรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่นๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัตริย์และขุนนางแม่ทัพนายกองและชาวบ้านทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นชาย) และจะมีการแข่งขันต่อสู้-ประลองกันในงานวัด และงานเทศกาลโดยมีค่ายมวยและสำนักมวยต่างๆ ส่งนักมวยและครูมวยเข้าแข่งขันชิงรางวัล-เดิมพัน โดยยึดความเสมอภาค
บางครั้งจึงมีตำนานพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตน เข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้ การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย (อิหร่าน) จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดงฝีมือใน การต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่างๆสืบต่อกันมาเป็นประจำ

muay thai of siam  
พระเจ้าตากสินมหาราช

muay thai of siam  
นายขนมต้มหรือพระยาพิชัยดาบหัก
กีฬามวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ยุคที่นับว่าเฟื่องฟูที่สุดคือ รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ศึกษาฝึกฝนการชกมวยไทยและโปรดให้จัดการแข่งขันชกมวยหน้าพระที่ นั่งโดยคัดเลือกนักมวยฝีมือดีจากภาคต่างๆ มาประลองแข่งขัน และพระราชทานแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์ ทั้งยังโปรดให้กรมศึกษาธิการ บรรจุการสอนมวยไทยเป็นวิชาบังคับ ในโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำจนถึงสมัย รัชกาลที่ 6 ที่วังสวนกุหลาบ ทั้งการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวย กับครูมวยชาวไทยด้วยกัน และการต่อสู้ระหว่างนักมวย กับครูมวยต่างชาติ ในการแข่งขันชกมวยในสมัยรัชกาลที่ 6 ระหว่างมวยเลี่ยะผะ (กังฟู) ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง กับ นายยัง หาญทะเล ศิษย์เอกของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีท่าจรดมวยแบบมวยโคราช ซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัด เหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่ สมัย รัชกาลที่ 7 ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน ต่อมาเริ่มมีการกำหนดกติกาในการชก และมีเวทีมาตรฐานขึ้นแห่งแรกคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่ง ขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน
muay thai of siam  

นักมวยโบราณ
ต่อมา พ.ศ. 2554 กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีมติให้กำหนดเอา วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตั้งแต่ปี 2555 เป็น ” วันมวยไทย ” โดยถือเอา วันขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเสือ แต่มีผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มวยไทย ให้ความเห็นว่ามวยไทย มีกำเนิดมาก่อนยุคสมัยพระเจ้าเสือนานมาก และหากจะยกให้คนที่มีฝีมือใน วิชามวยไทยและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งในแง่เกียรติประวัติและความสามารถ ควรยกย่อง พระยาพิชัยดาบหัก (นายทองดี ฟันขาว) มากที่สุด เพราะมีประวัติความเป็นมาชัดเจนในการศึกษาวิชามวยไทย สำหรับนายขนมต้ม ซึ่งเป็นครูมวยกรุงเก่าและถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 ก็ถือว่าได้ใช้วิชามวยไทยแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นได้น่ายกย่อง แต่ประวัติความเป็นมาของท่านไม่ชัดเจน แต่หากเห็นว่า ควรยกย่องพระมหากษัตริย์มากกว่าสามัญชน ก็น่าจะพิจารณา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งพระองค์ท่านมีชีวประวัติชัดเจนในความสามารถในวิชามวยและการต่อสู้หลาย แขนง ทั้งมีพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ด้วยการรวบรวม ครูมวย นักมวย ที่มีฝีมือจำนวนมากเป็นหลักในกองกำลังกอบกู้อิสรภาพ


มวยไทย

มวยไทยแห่งสยามประเทศ
muay thai of siam
ประวัติศาสตร์ของมวยไทย
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของมวยไทยเริ่มมีและใช้กันในการสงครามในสมัยก่อน ในปัจจุบันมีการดัดแปลงมวยไทยมาใช้ในกองทัพโดยเรียกว่า “เลิศฤทธิ์” ซึ่งแตกต่างจากมวยไทยในปัจจุบันที่ใช้เป็นการกีฬา โดยมีการใช้นวมขึ้นเพื่อป้องกันการอันตรายที่เกิดขึ้น มวยไทยยังคงได้ชื่อว่า ศาสตร์การโจมตีทั้งแปด ซึ่งรวม สองมือ สองเท้า สองศอก และสองเข่า (บางตำราอาจเป็น นวอาวุธ ซึ่งรวมการใช้ศีรษะโจมตี หรือ ทศอาวุธ ซึ่งรวมการใช้บั้นท้ายกระแทกโจมตีด้วย)
มวยไทยสืบทอดมาจากมวยโบราณ ซึ่งแบ่งออกเป็นแต่ละสายตามท้องที่นั้น ๆ โดยมีสายสำคัญหลัก ๆ เช่น มวยท่าเสา (ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง) มีคำกล่าวไว้ว่า “หมัดดีโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา”
การศึกษาศิลปะมวยไทย
มีผู้กล่าวกันว่ามีตำนานเกี่ยวเนื่องกับพระนางจามเทวี ผู้สร้างเมืองลำพูน ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 1200 มีพระฤๅษีนาม สุกกะทันตะฤๅษี ซึ่งเป็นสหายธรรม กับ ท่านสุเทวะฤๅษี เป็นพระอาจารย์ผู้สั่งสอน ธรรมวิทยา แล ศิลปศาสตร์ทั้งปวงอันควรแก่การศึกษาสำหรับขุนท้าวเจ้าพระยาทั้งหลาย โดยตั้งเป็นสำนักเรียนขึ้นที่ เขาสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี(ลวะปุระ หรือ ละโว้ ) ในสรรพวิทยาทั้งหลายนั้น ประกอบด้วยวิชชาอันควรแก่ ชายชาตรี ที่เรียกว่า มัยศาสตร์ (มายาศาสตร์ หรือบ้างเรียกว่า วิชาชาตรี)
muay thai of siam
พระนางจามเทวี
muay thai of siam  วาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษี
อันได้แก่ วิชามวย วิชาดาบ วิชาธนู วิชาบังคับช้าง ม้า ซึ่งเป็นการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญในการต่อสู้ป้องกันตัวและศึกสงคราม ในสมัยโบราณจะมี สำนักเรียน (สำนักเรียนมวย แตกต่างจาก ค่ายมวย คือ สำนักเรียนจะมีเจ้าสำนัก หรือ , ซึ่งมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่เคารพรู้จัก มีความประสงค์ที่จะถ่ายทอดวิชาไม่ให้สูญหาย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ที่มีความเหมาะสม ส่วน ค่ายมวย เป็นที่รวมของผู้ที่ชื่นชอบในการชกมวย มีจุดประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน-ประลอง) โดยแยกเป็น สำนักหลวง และ สำนักราษฎร์ บ้างก็ฝึกเรียนร่วมกับเพลงดาบ กระบี่ กระบอง พลอง ทวน ง้าวและมีดหรือการต่อสู้อื่นๆ เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและใช้ในการสงคราม มีทั้งพระมหากษัตริย์และขุนนางแม่ทัพนายกองและชาวบ้านทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นชาย) และจะมีการแข่งขันต่อสู้-ประลองกันในงานวัด และงานเทศกาลโดยมีค่ายมวยและสำนักมวยต่างๆ ส่งนักมวยและครูมวยเข้าแข่งขันชิงรางวัล-เดิมพัน โดยยึดความเสมอภาค
บางครั้งจึงมีตำนานพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่เชี่ยวชาญการต่อสู้ปลอมตน เข้าร่วมแข่งขันเพื่อทดสอบฝีมือที่เป็นที่ปรากฏได้แก่ พระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) พระเจ้าตากสินมหาราช พระยาพิชัยดาบหัก ครูดอก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ จนเมื่อไทยเสียกรุงแก่พม่า ปรากฏชื่อนายขนมต้ม ครูมวยชาวอยุธยา ซึ่งถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกได้ชกมวยกับชาวพม่า ชนะหลายครั้งเป็นที่ปรากฏถึงความเก่งกาจเหี้ยมหาญของวิชามวยไทย ในสมัยอยุธยา ตอนปลายได้มีการจัดตั้งกรมทนายเลือกและกรมตำรวจหลวงขึ้นมีหน้าที่ในการให้ การคุ้มครองกษัตริย์และราชวงศ์ ได้มีการฝึกหัดวิชาการต่อสู้ทั้งมวยไทยและมวยปล้ำตามแบบอย่างแขกเปอร์เซีย (อิหร่าน) จึงมีครูมวยไทยและนักมวยที่มีฝีมือเข้ารับราชการจำนวนมากและได้แสดงฝีมือใน การต่อสู้ในราชสำนักและหน้าพระที่นั่งในงานเทศกาลต่างๆสืบต่อกันมาเป็นประจำ
muay thai of siam พระเจ้าตากสินมหาราช
muay thai of siam นายขนมต้มหรือพระยาพิชัยดาบหัก

กีฬามวยไทยได้รับความนิยมมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ยุคที่นับว่าเฟื่องฟูที่สุดคือ รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ศึกษาฝึกฝนการชกมวยไทยและโปรดให้จัดการแข่งขันชกมวยหน้าพระที่ นั่งโดยคัดเลือกนักมวยฝีมือดีจากภาคต่างๆ มาประลองแข่งขัน และพระราชทานแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์ ทั้งยังโปรดให้กรมศึกษาธิการ บรรจุการสอนมวยไทยเป็นวิชาบังคับ ในโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา มีการชกมวยถวายหน้าพระที่นั่งเป็นประจำจนถึงสมัย รัชกาลที่ 6 ที่วังสวนกุหลาบ ทั้งการต่อสู้ประลองระหว่างนักมวย กับครูมวยชาวไทยด้วยกัน และการต่อสู้ระหว่างนักมวย กับครูมวยต่างชาติ ในการแข่งขันชกมวยในสมัยรัชกาลที่ 6 ระหว่างมวยเลี่ยะผะ (กังฟู) ชาวจีนโพ้นทะเล ชื่อนายจี่ฉ่าง กับ นายยัง หาญทะเล ศิษย์เอกของ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ มีท่าจรดมวยแบบมวยโคราช ซึ่งเน้นการยืดตัวตั้งตระหง่านพร้อมที่จะรุกและรับโดยเน้นการใช้เท้าและหมัด เหวี่ยง และต่อมาได้เป็นแบบอย่างในการฝึกหัดมวยไทยในสถาบันพลศึกษาส่วนใหญ่ สมัย รัชกาลที่ 7 ในยุคแรกการแข่งขันมวยไทยใช้การพันมือด้วยเชือก จนกระทั่งนายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ ต่อยนายเจียร์ นักมวยเขมร ด้วยหมัดเหวี่ยงควายถึงแก่ความตาย จึงเปลี่ยนมาสวมนวมแทน ต่อมาเริ่มมีการกำหนดกติกาในการชก และมีเวทีมาตรฐานขึ้นแห่งแรกคือเวทีมวยลุมพินีและเวทีมวยราชดำเนินจัดแข่ง ขันมวยไทยมาจนปัจจุบัน
muay thai of siam นักมวยโบราณ
ต่อมา พ.ศ. 2554 กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีมติให้กำหนดเอา วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตั้งแต่ปี 2555 เป็น ” วันมวยไทย ” โดยถือเอา วันขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเสือ แต่มีผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มวยไทย ให้ความเห็นว่ามวยไทย มีกำเนิดมาก่อนยุคสมัยพระเจ้าเสือนานมาก และหากจะยกให้คนที่มีฝีมือใน วิชามวยไทยและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งในแง่เกียรติประวัติและความสามารถ ควรยกย่อง พระยาพิชัยดาบหัก (นายทองดี ฟันขาว) มากที่สุด เพราะมีประวัติความเป็นมาชัดเจนในการศึกษาวิชามวยไทย สำหรับนายขนมต้ม ซึ่งเป็นครูมวยกรุงเก่าและถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 ก็ถือว่าได้ใช้วิชามวยไทยแสดงให้ชาวต่างชาติเห็นได้น่ายกย่อง แต่ประวัติความเป็นมาของท่านไม่ชัดเจน แต่หากเห็นว่า ควรยกย่องพระมหากษัตริย์มากกว่าสามัญชน ก็น่าจะพิจารณา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งพระองค์ท่านมีชีวประวัติชัดเจนในความสามารถในวิชามวยและการต่อสู้หลาย แขนง ทั้งมีพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ด้วยการรวบรวม ครูมวย นักมวย ที่มีฝีมือจำนวนมากเป็นหลักในกองกำลังกอบกู้อิสรภาพ

muay thai of siam